บสย. ลงนาม ค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan พลัส 5.7 หมื่นล้านกับ 18 สถาบันการเงิน ร่วมปลดล็อก “บสย. SMEs ต้องชนะ” กระตุ้นเศรษฐกิจ  อุ้มจ้างงาน 3.6 แสนตำแหน่ง

587

“บสย.” จับมือ “18 ธนาคารพันธมิตร” ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ค้ำประกันสินเชื่อ “Soft Loan พลัส” วงเงินค้ำฯ 57,000 ล้านบาท โดยมีรมช.กระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์  เป็นประธานในพิธีลงนาม  และ ศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.กระทรวงแรงงาน ร่วมเป็นสักขีพยาน มั่นใจเสริมสร้างบรรยากาศการปล่อยสินเชื่อ SMEs คึกคัก รักษาการจ้างงานกว่า 360,000 ตำแหน่ง

นายสันติ พร้อมพัฒน์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs นำไปสู่การหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงการคลัง ที่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจกลุ่มฐานราก ผ่านกลไกค้ำประกันสินเชื่อ บสย. ที่ครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มคนตัวเล็ก ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ และคนตกงาน  มั่นใจเสริมสร้างบรรยากาศการปล่อยสินเชื่อSMEs ให้คึกคักเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจตลอดไตรมาส 3-4  เกิดสินเชื่อหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจประมาณ 57,000 ล้านบาท

ด้านศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการนี้ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อตลาดแรงงาน ทั้งช่วยลดปัญหาการว่างงาน และอุ้มการจ้างงานกว่า 360,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าจะนำไปสู่การขยายผลต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan พลัส สู่การบูรณาการความร่วมมือด้านการสร้างงานสร้างอาชีพ ระหว่าง กระทรวงแรงงาน กับ บสย. และยกระดับการสร้างอาชีพ กับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ผ่านการฝึกอบรมจากกระทรวงแรงงาน สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในโอกาสต่อไป

ขณะที่ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า  บสย. และ 18 ธนาคารพันธมิตร ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ มาตรการ “บสย. SMEs ต้องชนะ” โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan พลัส (Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษSoft Loan พลัส)  วงเงิน 57,000 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ   SMEs ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บสย. สามารถรับคำขอค้ำประกันสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป คาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ สามารถเข้าถึงสินเชื่อ 34,000 ราย  โดยโครงการนี้จะก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ ไม่ต่ำกว่า 57,000 ล้านบาท   ช่วยลดปัญหาการว่างงาน  มั่นใจรักษาการจ้างงานได้กว่า 360,000 ตำแหน่ง โดย บสย. จะค้ำประกันสินเชื่อต่อเนื่องจากโครงการ Soft Loanของธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกเป็นระยะเวลา 8 ปี เริ่มค้ำประกันตั้งแต่ปีที่ 3 จนถึงปีที่ 10

 

72990

อย่างไรก็ดี นอกจากความร่วมมือกับสถาบันการเงินพันธมิตรในโครงการค้ำประกันสินเชื่อSoft Loan พลัส แล้ว บสย. ยังได้เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันการเงินใน โครงการค้ำประกันสินเชื่อ “บสย. SMEs ไทยชนะ” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs  โดยมีวงเงิน 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเพื่อธุรกิจทุกประเภท ค้ำประกันสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย ระยะเวลาค้ำประกันสุดสุด 10 ปี จุดเด่นของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “บสย. SMEs ไทยชนะ” คือ สามารถปรับได้ตามค่าความเสี่ยงและลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มSMEs โดย บสย. คาดว่าจะก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบ 45,000 ล้านบาท ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้กว่า12,000 ราย และอุ้มการจ้างงานเพิ่มอีก 420,000 ตำแหน่ง

 

Leave A Reply

Your email address will not be published.