บอร์ดกทพ.ฟันธงไม่ปรับค่าผ่านทางด่วน
กลุ่มช.การช่างเห็นต่างคาดยื่นอนุญาโตฯชี้ขาด
รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่า การประชุมบอร์ด กทพ. ที่มีนายสุรงค์ บูลกุล เป็นประธาน วันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา รับทราบผลการเจรจาเรื่องการปรับอัตราค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 วันที่ 1 ก.ย.2561 และทางพิเศษอุดรรัถยา หรือ ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเก็ด วันที่ 1 พ.ย.2561 ตามสัญญาสัมปทานระหว่าง คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับอัตราค่าผ่านทางตามสัญญาสัมปทาน กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ BEM และบริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด หรือ (โดยทั้ง 2 บริษัทมีปลิว ตรีวิศวเวศท์ และกลุ่มช.การช่าง เป็นผุ้ถือหุ้นใหญ่) ตามที่ condo guide และ property channel ได้เสนอไปก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ดีจากการเจรา โดย กทพ.ได้ยึดแนวทางปฏิบัติ ตามความเห็น สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อคำนวณอัตราค่าผ่านทางอิงข้อมูลจากดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI นับจากเดือน มีนาคมพ.ศ. 2561 พบว่า ตัวเลขที่คำนวนได้กลับไม่ถึง 5 บาทตามข้อตกลงในสัญญาถ้าคำนวณค่า CPI ไม่ถึง 5 บาทจะไม่มีการปรับค่าผ่านทาง ด้วยเหตุดักล่าวบอร์ดกทพ.จึงมีความเห็น ไม่ต้องปรับอัตราค่าผ่านทางด่วน ทั้ง 3 เส้นทาง
ขณะที่ผู้แทนบริษัท BEM และ NECL รายงานผลการคำนวณการปรับอัตราค่าผ่านทางตามแนวทางของบริษัทที่เคยปฏิบัติ ซึ่งตัวเลขเข้าเกณฑ์ที่จะได้รับการปรับอัตราค่าผ่านทาง ทั้ง 3 เส้นทาง
โดยตัวเลขฐานข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณค่าดัขนีผู้บริโภคทั้ง 2 ฝ่ายต่างกัน เพราะบ.ยึดตัวเลขตนเอง โดยจะต้องมีการปรับค่าผ่านทาง ซึ่งสูงกว่าทางด้าน กทพ.คำนวณ
ทั้งนี้ตามสัญญาสัมปทานเมื่อความคู่สัญญาเกิดข้อพิพาทไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 2 ฝ่ายต่างกัน จึงเข้าสู่ ข้อพิพาท และคาดว่าผู้รับสัมปทานทั้ง 2 ราย จะนำเรื่องข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาด ลำดับต่อไป
นอกจากนี้ เนื่องจากไม่มีการปรับอัตราค่าผ่านทาง คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็น 2 ฝ่าย โดยแรกเห็นว่า กระทรวงคมนาคม เป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติออกประกาศปรับอัตราค่าผ่านทาง เมื่อไม่มีการปรับ จึงไม่ต้องเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่ออนุมัติออกประกาศแต่อย่าง ขณะที่อีกคู่สัญญาเห็นว่า ควรจะออกประกาศตามปรกติ เพราะตามสัญญาสัมปทาน ระบุ การปรับอัตราค่าผ่านทาง จะต้องมีการประกาศแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน เมื่อเป็นเช่นนี้ทางที่ประชุมบอร์ด เห็นชอบให้ส่งเรื่องหารือ สำนักงานอัยการสูงสุด ขอทราบแล้วทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง
อนึ่ง บริษัท ช การช่าง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด หรือ BEM 29.73% และ BEM เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ทางด่วนเหนือ จำกัด หรือ NECL จำนวน 99.99% ขณะที่ บริษัท ช การช่างโฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น บมจ.ช การช่าง 10.12% และมี บริษัท มหาศิริ สยาม จำกัด ถือหุ้นใหญ่ บมจ. ช การช่าง 16.65% และ บมจ. ช การช่าง ก็ไปถือหุ้น มหาศิริ สยาม 17.3%