คคบ.ดำนินคดีผู้ประกอบการอสังหาฯ 2 รายบังคับคืนเงินดาวน์ซื้อที่อยู่อาศัยหลังกู้ธนาคารไม่ผ่าน

492

คคบ. มีมติดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ประเภทห้องชุดคอนโดมิเนียม 2 ราย หลังประสบปัญหาสถานการณ์โควิด โควิดทำสญญาจอง และผ่อนดาวน์ แต่ยื่นขอสินแบงก์ไม่อนุมมัติ ตัดสินให้ผู้ประกอบการคืนเงินดาวน์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนเงินทำสัญญาและเงินจองผู้ประกอบการสามารถยึดได้ นอกจากนี้ดำเนินคดี ธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไปรวม 5 เรื่อง

จากการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่  7/2564 เมื่ออังคารที่ 31  สิงหาคม 2564โดยมีนายอนุชา  นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานการประชุม คคบ.ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ประเภทห้องชุดคอนโดมิเนียม จำนวน 2  เรื่อง และเรื่อง ธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 5  เรื่อง (บริการสถานเสริมความงามติดตั้งเหล็กดัดติดตั้งประตูหน้าบ้าน  จัดงานขึ้นบ้านใหม่  ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า)  

ทั้งนี้ที่ประชุมมีมตดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์  จำนวน 2 เรื่อง โดยดำเนินคดีแพ่ง กรณีผู้บริโภคทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับโครงการแห่งหนึ่ง ในราคา 3,830,000 บาท เพื่ออยู่อาศัย โดยผู้บริโภคได้ชำระเงินจอง จำนวน 10,000 บาท เงินทำสัญญา จำนวน 50,000 บาทและเงินดาวน์ 28 งวด จำนวน 305,600 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 365,600 บาท แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid 19) ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ ไม่สามารถผ่อนต่อไปได้และไม่สามารถขอพิจารณาสินเชื่อรับมอบห้องชุดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ จึงมีความประสงค์ขอให้บริษัทฯ คืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด กรณีดังกล่าวผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญาบริษัทฯ จึงมีสิทธิริบเงินจองและเงินทำสัญญา จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท แต่เงินดาวน์ จำนวน 305,600บาท ไม่ใช่เบี้ยปรับเป็นการชำระราคาบางส่วน บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิริบเงินดาวน์ และต้องคืนเงินให้ผู้บริโภคพร้อมดอกเบี้ย ตามกฎหมายมติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทเพื่อบังคับให้คืน เงินจำนวน 305,600 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

นอกจากนี้ให้ดำเนินคดีแพ่ง กรณีผู้บริโภคจำนวน 2 ราย ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เพื่อพัก
อาศัยกับโครงการแห่งหนึ่ง ราคา 4,640,000 บาท โดยชำระเงินจอง จำนวน 25,000 บาท และเงินดาวน์ จำนวน 3 งวด ๆ ละ 6,900 รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น จำนวน 45,700 บาท แต่ผู้บริโภคไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ และชำระค่าห้องชุดส่วนที่เหลือ เนื่องจากไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และมีความประสงค์ขอให้บริษัทฯ คืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดกรณีดังกล่าวผู้บริโภคเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบ จึงมีสิทธิริบเงินมัดจำ ซึ่งได้แก่ เงินจอง และเงินทำสัญญา รวมเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทส่วนเงินดาวน์ซึ่งเป็นการชำระราคาห้องชุด จำนวน 20,700 บาท บริษัทฯ ไม่มีสิทธิริบเงินดาวน์ดังกล่าว
โดยต้องคืนให้แก่ผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทเพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภค เป็นเงินจำนวน 20,700 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

ขณะเดียวกันที่ปรชุมยังมีมติให้ ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการ จำนวน 5 เรื่อง

72990

1.ดำเนินคดีแพ่งกรณีผู้บริโภคซื้อคอร์สบริการเสริมความงามและเข้าใช้บริการไปแล้วบางส่วน ต่อมาบริษัทฯ ได้ปิดกิจการจึงมีความประสงค์ให้คืนเงินในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้บริการต่อมาบริษัทฯ ได้ทำบันทึกข้อตกลงจะคืนเงินให้ จำนวน 67,410 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่คืนเงินตามที่ได้ตกลงไว้ กรณีดังกล่าว เมื่อบริษัทฯ ไม่คืนเงินให้ผู้บริโภคตามบันทึกข้อตกลงจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่ง เพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภค เป็นเงินจำนวน 67,410 บาท ตามบันทึกข้อตกลงฉบับใหม่ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

2.ดำเนินคดีแพ่งกรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทแห่งหนึ่งติดตั้งเหล็กดัด ณ บ้านพักอาศัย จำนวน 6 รายการ โดยคู่สัญญาตกลงจ่ายค่าจ้างทั้งหมด เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท ซึ่งผู้บริโภคได้ชำระเงินไปแล้ว จำนวน 40,000 บาท และจะชำระส่วนที่เหลือเมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว แต่ปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่ดำเนินการติดตั้งประตู สแตนเลส และยังส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วน เป็นเหตุทำให้ผู้บริโภคต้องว่าจ้างบุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนิน การจนแล้วเสร็จโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่างานรั้ว ราคา 15,000 บาท และค่าเจาะประตู ราคา 2,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 17,000 บาทดังนั้น บริษัทฯ จึงผิดสัญญาฯ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และบริษัทต้องชดใช้เงินแก่ผู้บริโภคโดยหักกลบกับเงินตามสัญญาที่ผู้บริโภคยังไม่ได้จ่ายให้แก่บริษัทฯ จำนวน 10,000 บาท คงเหลือเงินจำนวน 7,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้ถือได้ว่า เป็นมูลค่าความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น เมื่อบริษัทฯไม่ยินยอมที่จะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิผู้ร้องมติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภค เป็นเงินจำนวน 7,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

3.ดำเนินคดีแพ่งกรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างเป็นหนังสือให้ผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้งประตูหน้าบ้าน เป็นเงินจำนวน 28,000 บาท โดยจะติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เมษายน 2564 ผู้บริโภคได้ชำระเงินมัดจำ จำนวน 10,000 บาท เมื่อถึงกำหนด ผู้รับจ้างมิได้ดำเนินการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ และได้ติดต่อไปหลายครั้ง แต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงมีความประสงค์ให้คืนเงินมัดจำ จำนวน 10,000 บาท กรณีดังกล่าวผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาภายในกำหนดจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และไม่คืนเงินมัดจำให้ผู้บริโภคจึงเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภค เป็นเงินจำนวน 10,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

4.ดำเนินคดีแพ่ง กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทฯ จัดงานขึ้นบ้านใหม่ต่อมาผู้บริโภคได้ติดต่อไปยังบริษัทฯ ก่อนวันที่จะจัดงาน เพื่อขอเลื่อนการจัดงานออกไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโคโรนา (Covid 19) และสถานการณ์ดังกล่าวไม่ดีขึ้น ประกอบกับนิติบุคคลหมู่บ้านได้ประกาศไม่ให้จัดกิจกรรมใด ๆ ผู้บริโภคจึงได้ติดต่อไปยังบริษัทฯ อีกครั้งเพื่อขอบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืนกรณีดังกล่าวสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องให้บริการแก่ผู้บริโภค แต่ก่อนถึงกำหนดระยะเวลาให้บริการ ปรากฏว่า ได้มีคำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดฯหากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ต้องรับโทษ เป็นเหตุให้ผู้บริโภคไม่สามารถให้สถานที่จัดงานได้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และเมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้  บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ต่างตอบแทน  เมื่อผู้บริโภคได้แจ้งให้บริษัทฯ คืนเงิน แต่กลับปฏิเสธ  การกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภค เป็นเงินจำนวน 10,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

5.ดำเนินคดีแพ่งกรณีผู้บริโภคได้นำเครื่องดูดฝุ่น ไปซ่อมที่ร้านซ่อม โดยมีการเรียกเก็บค่ามอเตอร์และค่าแรงจากผู้บริโภคเป็นเงินจำนวน 2,900 บาท ต่อมาได้ติดต่อไปยังร้านซ่อม แต่ไม่สามารถติดต่อได้ภายหลังได้รับแจ้งว่าให้มารับเครื่องดูดฝุ่นคืน และได้เรียกเก็บค่าประกอบเครื่องและค่าตรวจเช็ค เป็นเงิน จำนวน 500 บาท และจะขอคืนเงินส่วนที่เหลือให้จำนวน 2,400 บาท โดยผู้บริโภคมีความประสงค์ให้คืนเงินทั้งหมด  จำนวน 2,900 บาท สัญญาระหว่างคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเป็นสัญญาต่างตอบแทน มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ เมื่อผู้บริโภคได้ชำระค่าบริการแล้ว ทางร้านจึงต้องมีหน้าที่ซ่อมเครื่องดูดฝุ่นให้เสร็จโดยเร็ว แต่ทางร้านไม่สามารถซ่อมได้ตามสัญญา  ผู้บริโภคจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้มติที่ประชุมดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงินให้กับผู้บริโภคเป็นเงินจำนวน 2,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

ทั้งนี้  ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ 7/2564  ได้มีการดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมจำนวน 7 ราย โดยบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงินให้แก่ผู้บริโภค เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น423,910 บาท (สี่แสนสองหมื่นสามพันเก้าร้อยสิบบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ย ตามกฎหมาย

Leave A Reply

Your email address will not be published.