สนข. สรุปแผนแม่บทแก้จราจรกทม.-ปริมณฑล

886

สนข. สรุปแผนแม่บทแก้จราจรกทม.-ปริมณฑล

เสนอคจร. 222 โครงการ 3 ระยะเริ่มปี2562-2572

สนข. เร่งจัดทำแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในกทม.ขปริมณฑล หวังแก้ไขปัญหา ในอนาคต หลังพบ ความเร็วเฉลี่ยจราจรแค่10-15 กม./ชม. แถมมีรถยนต์ส่วนบุคลมากกว่าพื้นที่ถนน ผู้ใช้รถไม่เคารพกฎจราจร ชงโครงการในแผนแม่บทฯ222 โครงการ 3 ระยะ  เร่งด่วน 3 ปี (พ.ศ. 2562 – 2564)  24โครงการ  ระยะกลาง 2 ปี (พ.ศ. 2565 – 2566) 81 โครงการ และระยะยาว 6 ปี (พ.ศ. 2567 – 2572)92โครงการ รอนำเสนอคจร.พิจารณา

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าผลการศึกษาโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บท บูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องจากรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงปัญหาจราจร จึงมีแนวคิดในการลดปัญหาการจราจรในปัจจุบัน โดยกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการขนส่งและจราจรมีกรอบในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการจราจรที่มีความเชื่อมโยงกันครบทุกมิติ รวมทั้งเพื่อศึกษา วิเคราะห์ปัญหาด้านการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และขีดความสามารถการรองรับความต้องการการเดินทาง ซี่งการแก้ไขปัญหาการจราจรจะต้องเกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน เพื่อให้บรรลุการดำเนินงานตามแนวทางการขนส่งที่ยั่งยืน อันจะเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

72990

อย่างไรก็ดี โครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาด้านการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและขีดความสามารถการรองรับความต้องการในการเดินทางภายใต้การวางแผนพัฒนาเมือง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม และการจัดระบบการจราจรในปัจจุบันและตามแผนงานในอนาคต รวมถึงโครงข่ายถนน สะพาน ทางพิเศษ ระบบขนส่งมวลชน และจุดเชื่อมต่อการเดินทา,

 

เพื่อศึกษา ทบทวน ข้อมูลการบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)ที่มีรูปแบบและลักษณะเมืองใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร, เพื่อจัดทำแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อเสนอแนะทิศทางการพัฒนาด้านระบบการจัดการจราจร ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมือง การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรอย่างบูรณาการ สอดคล้อง และลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ,  แลเพื่อสนับสนุนทางวิชาการในการเสนอแนะนโยบาย/แผนการจัดระบบการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพในการปฏิบัติงานในการวิเคราะห์วางแผนระบบจราจรและขนส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ของ สนข. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ตัวชี้วัดสภาพการจราจรในโครงข่าย ได้แก่ ปริมาณการจราจรบนถนนมีจำนวนมากเกินกว่าค่าขีดความสามารถของถนนที่สามารถรองรับได้ โดยมีความเร็วเฉลี่ยของกระแสจราจร ประมาณ 10 – 15กิโลเมตร

ต่อชั่วโมงเท่านั้น และก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านการสัญจร (Mobility)เช่น ปัญหาการเกิดคอขวด (Bottleneck) การตัดกันของกระแสจราจร (Traffic Conflict) ปริมาณความจุของโครงข่ายจราจรลดลง (Spare Capacity) เกิดสภาพพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ (Super-Block) ตลอดจนข้อจำกัดของความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่ง (Accessibility)รวมไปถึง การขาดช่วงของโครงข่ายระบบขนส่ง (Missing Links) ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ทำให้เกิดแนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้านจราจร พบว่า สภาพปัญหาหลักของการจราจรในกรุงเทพฯ คือ ความต้องการในการเดินทางมีมากกว่าความสามารถในการรองรับของโครงข่ายถนนที่จะรับได้ สัดส่วนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลสูงเกินไป สัดส่วนพื้นที่ถนนต่อพื้นที่เมืองอยู่ในระดับต่ำ โครงข่ายถนนขาดลำดับชั้นที่เหมาะสม ปัญหาพื้นที่ถูกกั้นด้วยลำคลอง ความจุที่ทางร่วมทางแยกไม่เพียงพอ และผู้ใช้รถใช้ถนนไม่เคารพกฎจราจรส่งผลให้ระบบการจราจรไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

 

ขณะเดี่ยวกันจากสภาพปัญหาจราจรดังกล่าวข้างต้น จึงมีการเสนอโครงการในแผนแม่บทฯ รวมทั้งสิ้น 222 โครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน 3 ปี (พ.ศ. 2562–2564) จำนวน 24 โครงการ ระยะกลาง 2 ปี  (พ.ศ. 2565–2566) จำนวน 81 โครงการ และระยะยาว 6 ปี (พ.ศ. 2567–2572) จำนวน92 โครงการ รวมทั้ง โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปัจจุบันอีก จำนวน 25 โครงการ

 

ทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรหลัก 4 ด้าน คือ เพิ่มการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (MRT Access), แก้ไขปัญหาพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ (Super-Block), แก้ไขปัญหาความไม่ต่อเนื่องของโครงข่าย (Missing Links) แลแก้ไขปัญหาคอขวด ความจุ และการเพิ่มประสิทธิภาพทางแยก (Bottleneck)

 

นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวต่อว่า ขณะนี้การศึกษาแผนแม่บทบูรณาการพัฒนาระบบการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรม การจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณาเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการ จราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อไป

 

 

Leave A Reply

Your email address will not be published.