เปิดประวัตินายกคนที่ 30 เศรษฐา ทวีสิน

เศรษฐา ทวีสิน

672

เศรษฐา ทวีสิน (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) ชื่อเล่น นิด เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย หนึ่งในบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยในปี พ.ศ. 2566 ของพรรคเพื่อไทย อดีตประธานอำนวยการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)[1] ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแสนสิริขึ้นเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศไทย


ภายหลังเศรษฐาเข้าร่วมงานทางการเมืองในนามพรรคเพื่อไทยอย่างเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 เศรษฐาให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก เน้นย้ำเรื่องปากท้องของประชาชน ความเหลื่อมล้ำของสังคม และการให้ความสำคัญกับความเสมอภาค ความเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพในการเลือก และมักประกาศว่าภารกิจสำคัญหากได้เป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอุปสรรคให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อย่างยากลำบาก

 

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้เป็นพรรคอันดับสองรองจากพรรคก้าวไกล สิทธิในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจึงอยู่กับพรรคก้าวไกล อย่างไรก็ตามในการโหวตนายกรัฐมนตรีที่เป็นแคนดิเดตจากพรรคก้าวไกล คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ได้คะแนนเสียง 324 เสียงจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค ขาดอีก 52 เสียง ซึ่งไม่เป็นผลสำเร็จ และไม่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก สว. อย่างเพียงพอ พรรคก้าวไกลจึงมอบสิทธิ์ให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแทน ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อ เศรษฐา ทวีสิน เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย และจะมีการโหวตในสภาในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาก่อนที่เศรษฐาจะเข้าสู่สนามการเมือง เศรษฐาเป็นผู้สังเกตการณ์ที่เฉียบคมเกี่ยวกับวาระทางสังคมของประเทศ ตั้งแต่สมัยเป็นผู้บริหารแสนสิริ และได้มอบหมายแนวคิดในการสร้างกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศชาติในหลาย ๆ ด้าน เช่น การผลักดันการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การสนับสนุนความเท่าเทียมและความหลากหลาย รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน และกีฬา[3]

ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว
เศรษฐา ทวีสิน เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เศรษฐาเป็นบุตรคนเดียวของของร้อยเอกอำนวย ทวีสิน  กับ ชดช้อย ทวีสิน (สกุลเดิม จูตระกูล)  บิดาของเศรษฐาเสียชีวิตตั้งแต่เศรษฐาอายุเพียง 3 ปี

เศรษฐา นับว่าเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะ ตระกูลทวีสินเป็นหนึ่งในตระกูลที่มีความเกี่ยวข้องกับสายเครือญาติ 5 ธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศไทย อันได้แก่ ตระกูลยิบอินซอย จักกะพาก จูตระกูล ล่ำซำ และ บูรณศิริ ซึ่งเป็นสายสกุลของเศรษฐา ทวีสิน  กับ ชดช้อย ทวีสิน (สกุลเดิม จูตระกูล) 

72990

ในปี 2532 เศรษฐาสมรสกับ พญ.พักตร์พิไล ทวีสิน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญความงามด้านผิวพรรณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

ณณภัทร ทวีสิน (น้อบ) บุตร
วรัตม์ ทวีสิน (แน้บ) บุตร
ชนัญดา ทวีสิน (นุ้บ) ธิดา

การศึกษา
ในระดับประถม เศรษฐาศึกษาที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐในระดับไฮสกูล และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมสสาชูเซ็ตส์ (University of Massachusetts) ปริญญาโทในสาขาบริหารธุรกิจด้านการเงินจาก บัณฑิตวิทยาลัยแคลมอนต์ (Claremont Graduate School) ของสหรัฐ

การทำงาน
หลังเรียนจบในปี พ.ศ. 2529 เศรษฐากลับมาทำงานที่ประเทศไทยในบริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (Procter & Gamble) บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคลื่อนไหวเร็ว (FMCG) ในเวลานั้น P&G เพิ่งย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเขาเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดคนแรก เมื่อทำงานไปได้ประมาณ 3 ปี P&G เสนอให้เขาทำงานในต่างประเทศ โดยระบุว่าเป็นหนทางเดียวที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงสุดในเส้นทางอาชีพ ด้านเศรษฐาที่เพิ่งกลับจากการใช้ชีวิตในต่างประเทศได้ไม่นาน ปรารถนาที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยกับครอบครัวจึงตัดสินใจปฏิเสธโอกาสการทำงานดังกล่าว ก่อนที่จะไปทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับอภิชาติ จูตระกูล ผู้เป็นญาติในชื่อ บริษัท แสนสำราญ จำกัด (ชื่อเดิมของแสนสิริ) ในปี พ.ศ. 2533

บริษัท แสนสำราญ จำกัด ได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการแรก คือ โครงการบ้านไข่มุก ซึ่งเป็นอาคารชุดริมหาดหัวหิน มีมูลค่าต้นทุนสร้าง ประมาณ 250 ล้านบาท และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของลูกค้าในตลาดระดับสูง ซึ่งโครงการบ้านไข่มุก เป็นคอนโดมิเนียมลักซ์ชัวรี่ติดชายหาดระดับตำนาน ห้องขนาด 242 ตารางเมตร ซึ่งครั้งเปิดตัวมีราคาขาย 7 ล้านบาทต่อยูนิต[8]
เศรษฐา ทวีสิน
บริษัท แสนสิริ ภายใต้การนำของเศรษฐา ได้เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจำกัดในปี พ.ศ. 2538 สองปีถัดมาประเทศไทยรวมถึงบริษัทแสนสิริ ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงอย่างต้มยำกุ้ง มีการปลดพนักงาน ขายสินทรัพย์เพื่อให้มีทุนหมุนเวียน และท้ายที่สุดก็นำองค์กรผ่านมรสุมธุรกิจและกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้งหนึ่ง ในวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งถัดมาอย่างแฮมเบอร์เกอร์ปี พ.ศ. 2550 และการแพร่ระบาดของโควิด-19 แสนสิริสามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างค่อนข้างรวดเร็ว มีกระแสเงินสดที่ดี และกลับมาทำกำไรได้อีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ถือว่าเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงสูง จนถึงปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นแนวหน้า และเป็นอันดับ 1 ที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานมากที่สุด 

 

แสนสิริ ในการนำของเศรษฐา ให้ความสำคัญอย่างมากกับ “4 เสา” ที่เป็นตัวคำ้บัลลังก์ให้แสนสิริมั่นคง ประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า และสังคม หน้าที่หลักของผู้บริหาร คือการสร้างความสมดุลและการให้ความสำคัญกับการใส่ใจและส่งมอบคุณค่ากลับคืนให้กับทั้งสี่เสาเหล่านี้ กล่าวคือ ตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยผลกำไรที่ดี ตอบแทนพนักงานด้วยค่าจ้าง สวัสดิการ และสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม ตอบแทนลูกค้าด้วยสินค้าที่มีคุณภาพ และตอบแทนสังคมด้วยการส่งมอบโอกาสในด้านต่าง ๆ ให้ผู้คน

เศรษฐาสร้างแรงจูงใจให้พนักงานโดยมีเงินเดือนและมีสวัสดิการต่าง ๆ ที่แข่งขันได้กับธุรกิจเดียวกันในตลาด นอกจากนี้เศรษฐายังพัฒนา SIRI CAMPUS ออฟฟิศที่ออกแบบโดยเอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเอื้อต่อการทำงานร่วมกันอย่างเสมอภาค เท่าเทียมไม่มีลำดับชั้น

เศรษฐามักจะนั่งทำงานใน Co-Working Space โดยไม่มีที่นั่งประจำ เพื่อให้พนักงานสามารถแวะเวียนเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและหาทางออกร่วมกัน เศรษฐาเชื่อว่าการพบเจอกันและเข้าถึงได้ง่ายจะทำให้พนักงานกระตือรือร้น และเมื่อต้องมีการตัดสินใจใด ๆ จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

นอกจากตำแหน่งหน้าที่ในบริษัทแสนสิริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปี พ.ศ. 2566 เศรษฐาดำรงตำแหน่งกรรมการในกว่า 30 บริษัท เช่น บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)), บริษัท สิริพัฒน์ ทเวลฟ์ จำกัด, บริษัท สิริพัฒน์ อีเลฟเว่น จำกัด, บริษัท สิริพัฒน์ เท็น จำกัด, บริษัท สิริพัฒน์ ไนน์ จำกัด เป็นต้น

ในวันที่ 8 มีนาคม 2566 เศรษฐาได้ทำรายการโอนหุ้นของ SIRI จำนวน 661 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 4.44% ที่ถืออยู่ทั้งหมดให้กับ ชนัญดา ทวีสิน บุตรคนเล็ก ส่งผลให้เขาไม่ได้ถือหุ้น SIRI อีกต่อไป จากที่ก่อนการทำรายการเคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 4 ของ SIRI และได้ขอลาออกจากตำแหน่ง ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมทั้งทุกตำแหน่งในฐานะกรรมการบริษัท และกรรมการชุดย่อยของบริษัท ได้แก่ ประธานกรรมการบริหาร รองประธานกรรมการลงทุน และกรรมการบรรษัทภิบาทและความยั่งยืน โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ถือเป็นการเปิดฉากการเข้าสู่การเมืองอย่างเป็นทางการ

การเข้าสู่การเมือง
เศรษฐาเปิดเผยว่าเขาไม่ได้มีความฝันที่จะก้าวเข้าสู่การเมืองมาก่อน แต่สิ่งที่เริ่มจุดประกายให้เขาสนใจการเมืองมากขึ้นคือนับตั้งแต่การรัฐประหาร 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐาเห็นว่าการยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและรับไม่ได้ บวกกับปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในช่วง 8-9 ปีหลังมานี้ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สะท้อนให้เห็นว่าและความเหลื่อมล้ำ ความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย เศรษฐาเห็นว่ารัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาค มีความเท่าเทียม และมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกได้ ตนจึงตัดสินใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยเพราะเชื่อว่าเพื่อไทยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เศรษฐาสมัครเป็นสมาชิกครอบครัวเพื่อไทย และในเดือนมีนาคม 2566 นั่งตำแหน่งประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยให้กับแพทองธาร ชินวัตร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อคุณเศรษฐาเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพร้อมกับอีกสองท่าน ได้แก่ แพทองธาร ชินวัตร และชัยเกษม นิติสิริ

เศรษฐาพูดเสมอว่า

 

“ผมไม่ได้อยากเป็นนายกรัฐมนตรีเพราะอยากมีตำแหน่งว่าเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย แต่ต้องการเป็นนายกรัฐมนตรีที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง”

ระหว่างการหาเสียง
เศรษฐาอธิบายว่า ทุกครั้งที่ไปต่างจังหวัดเพื่อปราศรัย เศรษฐาจะใช้เวลากับการพูดคุยกับผู้ประกอบการ หอการค้า ผู้นำความคิด สภาอุตสาหกรรมจังหวัดก่อน เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหา และเมื่อขึ้นเวทีปราศรัยจะมีข้อมูลเชิงลึกนำไปสื่อสารบนเวที ทั้งนี้เศรษฐาลงพื้นที่ครั้งแรกที่คลองเตย และขึ้นเวทีปราศรัยครั้งแรกที่พิจิตร

ในช่วงท้ายของการหาเสียง แพทองธาร ชินวัตร อีกหนึ่งแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยลาคลอด ทำให้เศรษฐาเป็นบุคคลหลักในการนำหาเสียง

เศรษฐาย้ำชัดเจนระหว่างการหาเสียง ว่า ประเด็นที่จะให้ความสำคัญที่สุด ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นอุปสรรคที่ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อย่างยากลำบาก และจะคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด การให้สิทธิเสรีภาพในการเลือกแก่ประชาชน รวมถึงทั้งการเลือกเพศสภาพ ผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม การเลือกอาชีพ สมัครใจเกณฑ์ทหาร การทำข้อตกลงทางการค้ากับต่างประเทศ รวมถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อให้เม็ดเงินกลับเข้าประเทศอย่างรวดเร็วที่สุด

นอกจากประเด็นข้างต้น อีกหนึ่งจุดยืน ที่เศรษฐากล่าวถึงเสมอ คือ การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ดังที่เคยได้กล่าวไว้ว่า “ความยากจน คือ ศัตรูของผม ความไม่เสมอภาค คือ สิ่งที่ผมจะต่อกรด้วย ไม่ใช่การสู้กับพรรคการเมืองอื่น”

แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
ผลการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคอันดับ 2 มี ส.ส. 141 ที่นั่ง รองจากพรรคก้าวไกล ที่ได้ส.ส. 151 ที่นั่ง ซึ่งเศรษฐายอมรับว่าตัวเลขดังกล่าวน้อยกว่าที่คาดคิดไว้ และน้อมรับว่าตนอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผลการเลือกตั้งออกมาไม่ถึงเป้า เช่น จากการที่ตนตัดสินใจเข้าการเมืองช้า การไม่เข้าร่วมดีเบตเนื่องจากมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่มากกว่าและความพร้อมของตน ณ เวลานั้น ๆ

เศรษฐายอบรับในผลเลือกตั้งและมองว่าเพื่อไทยต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทั้งในด้านการปรับตัวให้รวดเร็วต่อสถานการณ์ (Speed to Market) ไปจนถึงเรื่องความชัดเจน และหากไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีตนจะไม่รับตำแหน่งอื่นใน ครม. แต่จะมุ่งมั่นขับเคลื่อนการสื่อสารและการทำงานภายในพรรคเพื่อไทยให้กลับมาเป็นพรรคที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ทั้งนี้ สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป หลังจากที่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับเสียงโหวตจากสภาไม่ถึงกึ่งหนึ่ง โดยได้ 324 เสียง เป็นเสียงจากพรรคร่วม (8 พรรคในเวลานั้น รวมพรรคเพื่อไทย) 311 เสียง และเสียงจาก ส.ว. 13 เสียง จากสมาชิกทั้งหมด 749 คน และการเสนอชื่อพิธาซ้ำในที่ประชุมวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ก็มีมติออกมาว่าไม่สามารถเสนอชื่อพิธาอีกครั้งได้ ทางพรรคก้าวไกลจึงเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคอันดับสองเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เศรษฐาจึงถูกพู

Leave A Reply

Your email address will not be published.