เอพี ไทยแลนด์ 3 ทศวรรษเติบโตก้าวหน้า

668

 

นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี ไทยแลนด์ เปิดเผยว่า วันนี้ เอพี ไทยแลนด์ ก้าวสู่การดำเนินธุรกิจปีที่ 30 โดยมี EMPOWER LIVING เป็นเจตจำนงสำคัญในการดำรงอยู่ของเอพี ไทยแลนด์จากอดีต ปัจจุบัน และก้าวต่อๆ ไปในอนาคต ภายใต้บทบาทหน้าที่สำคัญยิ่งในการเป็นผู้สร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเอพี สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ดี ในแบบที่ต้องการด้วยตนเอง (To create and provide the support that enables to live and enjoy life on their terms) และวันนี้วิสัยทัศน์ EMPOWER LIVING ได้กลายมาเป็นพื้นฐานสู่ความแข็งแกร่งของบริษัทฯ โดยปี 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นปีแห่งบทพิสูจน์ความเป็นตัวจริงในอุตสาหกรรมอสังหาฯ โดยเอพีมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดสูงสุดเกินจากคาดการณ์ ทั้งในมิติรายได้รวมจากสินค้าแนวราบ กลุ่มคอนโดมิเนียม (100% JV) และธุรกิจอื่นๆ ได้สูงถึง 46,130 ล้านบาท เติบโตกว่า 42% จากปีก่อนหน้า มีกำไรสุทธิ ณ สิ้นปี 2563 อยู่ที่ 4,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 38% ด้านสัดส่วนหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับต่ำมากเพียง 0.71 เท่า ซึ่งทั้งหมดล้วนสะท้อนถึงความสามารถใน   การบริหารจัดการภายในองค์กร ควบคู่ไปกับการบริหารพอร์ตสินค้า และการบริหารกระแสเงินสดที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น  

นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า “วิกฤตโควิด-19 เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของวิกฤตที่เกิดขึ้นและยังคงวนเวียนอยู่ ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเมื่อไหร่จะสิ้นสุด หรือจะมีวิกฤตใหม่เกิดขึ้นอีกเมื่อใดและความเสียหายจะรุนแรงแค่ไหน โจทย์การดำเนินธุรกิจจึงท้าทายยิ่งขึ้น และนำไปสู่รูปแบบใหม่ๆ ในการแข่งขัน โมเดลการทำธุรกิจแบบเดิมจึงไม่ใช่คำตอบของการอยู่รอดในอนาคต    ซึ่งก้าวต่อไปจากนี้ เอพี ไทยแลนด์ จะไม่หยุดที่จะสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน เพื่อตั้งรับกับกฎกติกาโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นเบอร์ 1    ในอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย

โดยยุทธศาสตร์สำคัญทั้งสามประกอบไปด้วย

  1. สร้างผู้นำอิสระ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันที่มากกว่า (Create Independent Responsible Leaders) องค์กรจึงจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นสูงยิ่งในสภาวะที่ไม่ปกติ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มากขึ้น บริษัทฯ จึงให้เดินหน้าสร้างบทบาทของผู้นำในโลกยุคใหม่ ให้เป็น ผู้นำที่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ” ภายใต้กรอบความรับผิดชอบต่อตนเอง ลูกค้า คู่ค้า และเพื่อนร่วมงานดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นไปที่ “ความต้องการของลูกค้า” มากกว่า “ข้อกำหนดของบริษัท” หรือ “ข้อจำกัดขององค์กร” ซึ่งเชื่อว่า การที่บริษัทฯ ให้อำนาจในการตัดสินใจอย่างอิสระแก่คนทำงานผู้ที่อยู่ใกล้ชิดลูกค้าโดยตรงแล้วนั้น จะทำให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในโลกที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพกว่าอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่คนเพียงไม่กี่คนในองค์กร
  2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม (INNOVATIVE CULTURE) การที่พนักงานเอพี ทุกคนจะสามารถสร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ผู้คนในสังคม สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการด้วยตนเองนั้น สมาชิกทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะทำหน้าที่ในบทบาทใด หรือรับผิดชอบเรื่องใด พวกเขาจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม ผ่านการปลูกฝังให้พนักงานทุกคนมีระบบคิดตามหลัก DESIGN THINKING ที่ให้ความสำคัญกับการค้นหา Unmet Need ของลูกค้า ให้เกิดขึ้นกับพนักงานเอพีทุกคน เพื่อให้ทุกภาคส่วนงานใช้เป็นหลักคิดพื้นฐาน ผสานเข้ากับจุดแข็งของตนเองในการร่วมมือเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น
72990

วันนี้การสร้างนวัตกรรมจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การ “ฝันถึงสิ่งใหม่ ที่ยิ่งใหญ่” เท่านั้น แต่นวัตกรรมที่มีค่าที่สุด คือสิ่งที่สามารถตอบ Unmet Need หรือความต้องการที่ซ่อนอยู่ของลูกค้าได้เป็นสำคัญถึงจะเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม  

  1. พลิกเกมส์ธุรกิจเดินหน้าเต็มลูป ทรานฟอร์มทุกมิติด้วยดิจิทัล (eVERYTHING DIGITAL) อีกหนึ่งยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนองค์กรคือ การนำทุกมิติของการดำเนินงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลแบบองค์รวม (Holistic Digital Management) ทั้งที่เกี่ยวเนื่องกับลูกค้า พาร์ทเนอร์ที่ทำงานร่วมกับเอพี หรือ พนักงาน เพื่อเป็นรากฐานสนับสนุน 2 ยุทธศาสตร์ข้างต้น ทั้งนี้ การตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองลูกค้า ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมจำเป็นต้องมีข้อมูลที่รวดเร็ว และถูกต้อง เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ค้นหา Unmet Need ของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพื่อส่งมอบ ‘ประสบการณ์การใช้ชีวิต’ ผ่านสินค้าและบริการที่มีความสะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ

ทั้งนี้ 3 ยุทธศาสตร์ข้างต้น จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความพร้อมให้กับองค์กร โดยเฉพาะธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะมีการขยายตัวเชิงรุกอย่างมาก โดยในปี 2564 นี้ เอพี ไทยแลนด์ จะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาอยู่ทั่วประเทศมากถึง 147 โครงการ มูลค่าพร้อมขายกว่า 121,890 ล้านบาท โดยเป็นการเปิดตัวโครงการใหม่ในปีนี้จำนวน 34 โครงการ มูลค่าประมาณ 43,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นโครงการแนวราบจำนวน 30 โครงการ มูลค่าประมาณ 28,800 ล้านบาท และคอนโดมิเนียมที่คาดว่าจะพร้อมเปิดตัวในช่วงครึ่งปีหลังจำนวน 4 โครงการ มูลค่าประมาณ 14,200 ล้านบาท และโครงการที่อยู่ระหว่างการขายที่กระจายไปในทุกทำเลทั้งในกทม.และต่างจังหวัดมากถึง 113 โครงการ มูลค่าสินค้าพร้อมขายประมาณ 78,890 ล้านบาท โดยในปี 2564 นี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ารับรู้รายได้ (รวม 100% JV)  43,100 ล้านบาท และเป้ายอดขายที่ 35,500 ล้านบาท

“การมาของวัคซีนคือ ความหวัง แต่หนทางระหว่างเดินไปถึงแสงแห่งความหวังนั้น ยังอีกยาวไกล สิ่งที่เราทุกคนต้องระวังมากที่สุดตอนนี้คือ ‘Ripple Effect’ หรือปรากฏการณ์ระลอกคลื่น ที่ศูนย์กลางก็คือความเสียหายทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเวลาในการฟื้นตัวที่ต้องลากยาวออกไปอีกหลายปี การคาดการณ์เวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยถือเป็นเพียงการฟื้นคืนกลับในเชิงตัวเลขเท่านั้น แต่ความน่ากลัวที่แฝงอยู่คือ วิธีการทุกอย่างที่เราเคยทำและเรียนรู้มาจะเปลี่ยนไป และจะยังคงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งนั่นแปลว่าจากวันนี้ไปอีกหลายปี เรายังคงต้องเผชิญอยู่กับความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเปลี่ยนโลกรอบนี้ ซึ่งหากพนักงานเครือเอพี กว่า 2,000 คน สามารถดำเนินงานภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์นี้ได้อย่างเข้าใจ เอพีก็จะสามารถสร้างและจัดหาสินค้าหรือบริการที่เกื้อหนุนให้ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ในแบบที่ต้องการด้วยตนเอง ตามเจตจำนง EMPOWER LIVING ที่ได้กำหนดไว้” นายอนุพงษ์ กล่าวเสริม

อนึ่งจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ของนักวิเคราะห์* กล่าวถึงเอพีว่า “เอพี ไทยแลนด์ คือ ฮีโร่แม้ในยามวิกฤต” และเป็นผู้นำตลาดรายใหม่ ยอดขายและการเปิดตัวโครงการใหม่ โดยเฉพาะยอดขายแนวราบที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง และการโอนคอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จใหม่ โดยยกให้ “เอพี เป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งท่ามกลางภาวะที่ยากลำบาก”

Leave A Reply

Your email address will not be published.