LPN ปรับใหญ่รับมือความเสี่ยงอสังหาฯปี62

1,507

LPN ปรับใหญ่รับมือความเสี่ยงอสังหาฯปี62

ดันทีมบริหารรุ่นใหม่ขึ้นบริหาร/ปรับกลุ่มลูกค้าสร้างรายได้ครบวงจร

 

LPN ปรับเบ็ดเสร็จทั้งทีมบริหารรุ่นใหม่ และโครงสร้างรายได้ธุรกิจอีกครั้ง หลังเผชิญปัญหาวิกฤติกำลังซื้อกลุ่มกลางล่างทรุด เดินแผนใหม่กระจายเสี่ยงสร้างรายได้ครบวงจรในปี 62 เชื่อดันยอดรายได้โต 10% ท่ามกลางความเสี่ยงทางธุรกิจรอบด้าน พร้อมโชว์ผลงานปี 61 รายได้โต 20% ขณะที่ TRIS Rating หนุนความน่าเชื่อถือแบรนด์ ให้เข้มแข็งจัดอันดับ  ที่ระดับ A- (Stable)

 

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด  จัดแถลงข่าวประจำปี 2562 ท่ามกลางผู้บริหารหน้าใหม่ โดย อดีตผู้บริหารรุ่นเก่าอย่างนายฑิฆัมพร เปล่งศรีสุข นั่งในตำแหน่งรองประธานกรรมการคณะกรรมการบริษัทลดภาระการบริหาร มีนายอมรศักดิ์ นพรัมภา เป็นประธานคณะกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ ขณะที่นายพิเชษฐ ศุภกิจจานุสรณ์ เป็นกรรมการสรรหาค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล, นางยุพา เตชะไกรศรี เป็นกรรมการ, นายคัมภีร์ จองธุรกิจ เป็นกรรมการ มีผลตั้งแต่ 12 พฤาภาคม ปีที่ผ่านมา  ส่วนนายจรัญ เกษร ลาออกมีผลตั้งแต่ปลายปี

72990

ขณะที่นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ นั่งในตำกรรมการผู้จัดการ มานานกว่า 14 ปี ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นประธานกรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล, ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง และกรรมการผู้จัดการบมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) ซึ่งนับเป็นการขึ้นบริหารองค์กรแห่งนี้เต็มตัว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจกำลังซื้อวิกฤติที่ต้องแก้ไข พร้อมกับผู้บริหารหน้าใหม่รับไม้ต่อในการบริหาร โดยมีนายอภิชาติ เกษมกุลศิริ เป็นกรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง และเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านการเงิน, นายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน เป็นกรรมการบริหาร กรรมการบริหารความเสี่ยง และเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงด้านกลยุทธ์  

นอกจากนี้มีนางสมศรี เตชะไกรศรี นั่งบริหารในตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัทลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP),  ผศ.ดร.พร วิรุฬห์รักษ์ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ จำกัด (LPS),  นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซโลชั่น จำกัด ( LWS) และนางสุรัสวดี ซื่อวาจา เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (LPC)     

              โดยนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอล.พี.เอ็น. ดีเวล ลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN)  เปิดเผยว่า จากสภาวะถดถอยของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่ และการประเมินสถานการณ์ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทได้มีการกลยุทธ์และทิศทางการบริหารบริษัท ภายใต้แนวทาง Year of Shift และ Year of Change ถือเป็นปรับทิศทางเพื่อการรองรับสถานการณ์ และช่องทางสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่โครงสร้างรายได้มาจากกลุ่มกลางล่างเป็นหลัก ซึ่งก็ส่งผลต่อยอดรับรู้รายได้ของบริษัทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากปรับโมเดลธุรกิจ บริษัทมีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังระดับบน ทั้งโครงการที่อยู่อาศัยในแนวสูงและแนวราบ ด้วยการพัฒนาโครางการ BAAN 365 พระราม 3สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 50% รวมทั้งโครงการคอนโดมิเนียมระดับบน และขยายเซ็กเมนท์ไปยังกลุ่ม Gen Y ที่มีไลฟ์สไตล์เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ภายใต้ซับแบรนด์ Lumpini Selected

              นอกจากนี้ ได้ขยาย พัฒนาโครงการ อาคารสำนักงานเพื่อขาย  เพราะจากข้อมูลกว้า 20-23  ปี ในตลาดอาคารสำนักงานเพื่อขายมีโครงการอาคารสำนักงาน หรือออฟฟิศที่พัฒนาออกมาเพื่อขายไม่ถึง 10 โครงการ ขณะเดี่ยวกันบริษัทได้พัฒนาโครงกาลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี  อาคาร A เป็นลักษณะ Office Condo พร้อมบริการวางระบบ Office Smart ที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้สนใจหลายรายที่ต้องการซื้อยกตึกซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียด

อย่างไรก็ดีกาการสร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) เป็นอีกโมเดลที่ปรับ โดยมี บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด และรายได้จากการปล่อยเช่า รวมทั้งการนำห้องชุดในโครงการลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 อาคาร F ที่พัฒนาเพื่อขายมาปรับเปลี่ยนเป็นการเช่า  ซึ่งมียูนิตที่จะสามารถนำมาปล่อยเช่าได้ถึง 800 ห้องในปี 2562  ซึ่งจากการปรับโมเดลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สร้างรายได้ประจำหรือรายได้จากการเช่า  (Recurring Income) และรายได้จากการขาย และบริการสามารถ รายได้ให้องค์กรเติบโต 20% คิดเป็นยอดขายรวมอยู่ที่ประมาณ 15,526 ล้านบาท

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กล่าวว่า แม้ความเสี่ยงในปี 2562  จะมีหลายปัจจัยและต้องระมัดระวัง บริษัทเตรียมแผนรองรับปัจจัยลบต่าง ๆ ไว้  โดยตั้งเป้าการเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15% ด้วยการเปิดตัวโครงการให้ครอบคลุมทั้งกลุ่มกำลังซื้อเน้นที่กลาง เพื่อกระจายความเสี่ยงด้วยการเปิดตัวโครงการใหม่มีตลาดมีความต้องการ เตรียมเปิดโครงการใหม่ในปีนี้ 15-16 โครงการ มูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท เป็นโครงการคอนโดมิเนียมจำนวน 5-6 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 12,000 ล้านบาท และโครงการแนวราบอีกประมาณ 10 โครงการ มูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ใช้งบประมาณซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการใหม่ มูลค่า 4,000  ล้านบาท  บริษัทมั่นใจว่าปีนี้จะทำได้ตามเป้าการเติบโต เพราะมีสินค้าพร้อมอยู่ในพอร์ตของบริษัทมูลค่า กว่า 7,000 ล้านบาท โดยไม่มีภาระทางด้านการเงิน

ส่วนเป้ารายได้จะอยู่ที่ 13,500 ล้านบาท มาจากโครงการคอนโดมิเนียม 9,000 ล้านบาท มาจากการขายโครงการแนวราบบ้านเดี่ยวทาวน์เฮ้าส์ 3,000 ล้านบาท และรายได้จากการบริการประมาณ 1,300-1,500 ล้านบาท ซึ่งเป้ารายได้ในปีนี้ไม่น่าห่วง แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เพราะบริษัทมียอดสินค้าพร้อมขายใน แบ๊กล็อก (Backlog) มูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท จะมาจากโครงการคอนโดมิเนียม 6,000 ล้านบาท และโครงการแนวราบ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 16,000 ล้านบาท มาจากการขายโครงการคอนโดมิเนียม 11,000 ล้านบาท และโครงการแนวราบ 5,000 ล้านบาท

 

ปัจจุบันบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำที่ราว 0.4 เท่า ขณะที่ทิศทางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นทำให้บริษัทต้องปรับตัวด้วยความระมัดระวัง โดยเบื้องต้นมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนทางการเงินราว 50-80 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีวงเงินหุ้นกู้คงเหลือ 1,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะออกในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ และเตรียมที่จะขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอวงเงินหุ้นกู้อีก 3,000-5,000 ล้านบาทด้วย ซึ่งบริษัทได้รับการจัดอันดับองค์กรจากทริสเรทติ้ง ในระดับ “A-” แนวโน้ม “Stable” แสดงถึงความมั่นคงและน่าเชื่อถือทางการเงินซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของบริษัทต่อไปด้วย

              ขณะเดี่ยวกันนายโอภาส ได้สะท้อนทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ว่า จะเป็น ปีแห่งการฝ่าพายุ (Storm is coming) เข้าสู่สภาวะการถดถอย คาดว่าจะปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้นในปี 2562 โดยมีปัจจัยสนับสนันความเสี่ยง มีหลายปัจจัย เริ่มตั้งแต่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น, มีอุปทานล้นตลาดภายในหลายทาเล ส่งผลให้โครงการเหล่านั้นขายไม่ได้ การขายช้าลง, มีอุปทานกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าระดับราคากลางบน จนถึงตลาดบน นอกจากนี้อุปสงค์เทียมในตลาดมากขึ้น ขณะที่ราคาที่ดินมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ครัวเรือน,  หนี้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้นรอบใหม่ ขณะที่เกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อรายย่อยเข้มงวดมากขึ้น และต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นตามมา

              ทั้งนี้ทิศทางการดำเนินงานของธุรกิจจะเป็นลักษณะกรุ๊ป โดยบริษัทในเครือแอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป  (L.P.N. DEVELOPMENT GROUP)    โดยมีบริษัทลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซโลชั่น จำกัด ( LWS) อีกหนึ่งธุรกิจในเครือที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงวิเคราะห์วิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ในทำเลที่เหมาะสมทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านพักอาศัยตาม Segment ของ Product Brand “ลุมพินี” โดยได้สร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development Center) เพื่อเป็นที่ศึกษาและพัฒนาคุณค่าของสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านห้องทดลองพัฒนาและวิจัยแบบจำลอง หรือ Mock Up Center นอกจากนี้ LPN Wisdom ยังได้รับการยอมรับให้เป็นที่ปรึกษาด้านอาคารเขียวจากหน่วยงานราชการและเอกชนอย่างกว้างขวาง

บริษัทลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ จำกัด (LPS) ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นตัวแทนด้านความเป็น “คนเก่ง” ของบริษัทโดยในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงสภาวะถดถอยของภาคอสังหาริมทรัพย์นี้ LPS จะเน้นการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อให้ต้นทุนการพัฒนาโครงการของบริษัต่ำลง

บริษัทลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) ถือเป็นฟันเฟืองหลักในธุรกิจบริการ โดยมีเป้าหมายการเติบโตอยู่ที่ 20% ซึ่งเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดจาก 15% ในปีที่ผ่านมา โดยรายได้หลักของธุรกิจจะมาจาก 3 ขา คือ การบริหารชุมชนทั้งภายในและภายนอกโครงการของบริษั, งานบริการด้านวิศวกรรม และธุรกิจนายหน้าหาผู้ซื้อและผู้เช่าห้องชุด นอกจากนั้น LPP ยังมีฐานลูกค้าอีกกว่า 150,000 รายที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้จากการบริการในอนาคต

              และบริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (LPC) ดำเนินธุรกิจบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยในโครงการ เช่น งานบริการความสะอาด งานบริการต้อนรับ เป็นต้น บริหารงานโดยบริษัท LPC Social Enterprise วิสาหกิจเพื่อสังคม 1 ใน 15 แรกในไทย ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนด้านความเป็น “คนดี” ของบริษั ที่ต้องการแสดงความใส่ใจ ห่วงใย แบ่งปันต่อสตรีด้อยโอกาสที่ยังมีอยู่มากในประเทศ เพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาส สร้างศักดิ์ศรี และสร้างความสุขให้กับบุคคลเหล่านี้ และเป็น 1 ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยลดปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน 

Leave A Reply

Your email address will not be published.