สำรวจทั่วโลกใช้พื้นที่ออฟฟิศน้อยลง

1,071

สำรวจทั่วโลกใช้พื้นที่ออฟฟิศน้อยลง

ปฏิวัติรูปเวลาทำงาน “เข้า 9 โมงเลิก 5 โมง”

 “โคเวิร์คกิ้งสเปซ” มาแทนที่สำนักงานเดิม

 

ย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี ใครเลยจะเชื่อ ว่า “ที่นั่งทำงานร่วม” หรืออีกชื่อหนึ่งว่าโคเวิร์คกิ้งสเปซ  (Coworking space) จะเป็นที่ต้องการ ตามแนวทางการดำเนินงานของบริษัทขนาดเล็กหรือบริษัทที่ไม่ต้องใช้พื้นที่ออฟฟิศจำนวนมากในยุคปัจจุบัน ที่ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลของ โลกยุคดิจิทัล ที่ครอบคลุมไปในทุกอุตสาหกรรม ลดคววามสิ้นเปลืองในการเช่าออฟฟิศแบบเดิม ๆ คลายกังวลควักกระเป๋าลงทุนเรื่องตกแต่งสำนักงาน  ไม่ต้องผูกมัด กับสัญญาเช่าระยะยาว คุณจะย้ายเข้า ย้ายออกได้ตามความสะดวก มีความยืดหยุ่นสูงจะ ลด หรือ เพิ่ม จำนวนที่นั่งได้ตามการจำนวนพนักงานที่มีในบริษัท ณ  เวลานั้น เผยผลสำรวจทั่วโลกใช้พื้นที่ออฟฟิศน้อยลง “โลกดิจิทัล” ปฏิวัติรูปแบบการทำงานเข้า 9 โมงเช้าเลิก 5 โมงเย็น

 

วันนี้ชัดเจนมากขึ้น ธุรกิจโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) ในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และก้าวกระโดด มีผู้ประกอบการบริหารพื้นที่สำนักงานร่วม หรือโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) ทั้งไทยและต่างชาติ  ต่างประกาศเปิดตัว เข้าสู้ธุรกิจมากหน้าหลายค่าย ไม่เว้นแม้กระทั้งผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็ขอร่วมวงแชร์เมื่อเร็ว ๆ นี้  และจากนี้ไปเราจะได้เห็นวิธีการทำงาน ที่เปลี่ยนไป จนลืมไปเลยว่า ครั้งหนึ่งเราต้องตื่นแต่เช้า เข้าทำงานที่สำนักงานให้ทันในเวลา 09.00 น.ตามที่บริษัทกำหนด และ ลิกงานในเวลา 17.00 น.

72990

 

Yupa Sathienpabayut – JLL Thailand

อาคารเกรดเอ เป้าหมาย ขยายพื้นที่

ตามการรายงานจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ JLL นางสาวยุพา เสถียรภาพอยุทธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการธุรกิจอาคารสำนักงาน JLL ระบุว่าโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) หรือที่นั่งทำงานร่วมให้เช่า เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วในกรุงเทพฯ หลังผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศเริ่มเปิดตัวในอาคารสำนักงานเกรดเอและคาดว่าจะมีอีกหลายรายตามเข้ามา

            “มีรายใหญ่จากต่างประเทศที่เข้ามาเปิดธุรกิจหรือเตรียมพื้นที่สำหรับเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ แล้ว ได้แก่ Spaces มีสาขาที่อาคารจตุรัสจามจุรี (และซัมเมอร์ฮิลล์ คอมมิวตี้มอลล์ย่านพระโขนง), Justco เปิดสาขาแรกแล้วที่อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และกำลังเตรียมเปิดอีกสาขาที่อาคารแคปปิตอล ทาวเวอร์ (ออล ซีซั่นส์ เพลส), WeWork เตรียมเปิดสาขาแรกที่อาคารเอเชีย เซ็นเตอร์ และ The Great Room ซึ่งจะเปิดสาขาแรกที่อาคารเกษร ทาวเวอร์ในเดือนนี้” 

            นอกจากนีผู้ประกอบการโคเวิร์คกิ้งสเปซรายใหญ่จากต่างประเทศ จะเลือกเช่าพื้นที่เพื่อเปิดธุรกิจในอาคารสำนักงานเกรดเอในย่านศูนย์กลางธุรกิจ โดยส่วนใหญ่เช่าพื้นที่ขนาด 3,000 ตารางเมตรขึ้นไปสำหรับแต่ละสาขา ขณะที่ผู้ประกอบการเหล่านี้บางรายยังมีแผนขยายสาขาเพิ่มอีกจำนวนมา รวมทั้ง

ยังมีผู้ประกอบการโคเวิร์คกิ้งสเปซจากต่างชาติอีกหลายรายที่กำลังอยู่ระหว่างเตรียมเข้ามาเปิดธุรกิจในกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และมาเลเซีย และกำลังมองหาพื้นที่เช่าขนาด 2,000-3,000 ตารางเมตรในอาคารสำนักงานเกรดเอ”

ทั้งนี้ที่ผ่านมา โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) ที่เปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการไทยเกือบทั้งหมด โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือบริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทเอสเอ็มอีที่มีจำนวนพนักงานน้อย และไม่จำเป็นต้องมีออฟฟิศเต็มรูปแบบ รวมไปจนถึงกลุ่มคนทำงานอิสระที่ต้องการที่นั่งทำ งานแต่มีความสะดวก และสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานได้ดีกว่าการนั่งทำงานที่บ้าน รวมทั้งได้มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพ หรือจากสาขาอาชีพที่ใกล้เคียงกัน ที่ผ่านมา โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) ที่มีอยู่ตั้งแต่ช่วงแรกๆ มักเปิดบริการอยู่ในตึกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง รวมไปจนถึงศูนย์การค้า มีผู้ประกอบการจำนวนไม่มากนักที่เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน เพื่อเปิดบริการ แบรนด์ต่างชาติ

 

ต่างชาติแห่เปิด พื้นที่ให้บริการ

นางสาวยุพา เสถียรภาพอยุทธ์ ระบุอีกว่า วันนี้มีผู้ประกอบการต่างชาติเริ่มเข้ามสเปิดให้บริการมากขึ้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างชาติที่เข้ามาเปิดบริการ รวมถึงจะมีรายอื่น ๆ ตามมาอีกนั้น จะมี กลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ที่ลูกค้าประเภทองค์กร โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) ไม่เฉพาะบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการใช้รูปแบบสำนักงานประเภทนี้ รวมไปถึงบริษัทขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้โคเวิร์คกิ้งสเปซ(Coworking space)  เป็นสำนักงานย่อย หรือสำรองที่นั่งทำงานไว้สำหรับ พนักงานที่ ไม่มีความจำเป็นต้องเข้ามาในสำนักงานใหญ่ก็สามารถเข้าไปใช้ได้

ทั้งนี้ผู้ประกอบการโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) บางราย สามารถจัดสรรที่นั่งทำงานให้ตรงตามความต้องการขององค์กรลูกค้ามากที่สุด ไม่ว่าจะในเรื่องของความเป็นสัดเป็นส่วน ตลอดไปจนถึงอัตลักษณ์ขององค์กร แต่ทั้งนี้ ยังคงคอนเซ็ปต์ของโคเวิร์คกิ้งสเปซ(Coworking space) ไว้ คือ การมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้ให้ลูกค้าใช้ร่วมกัน และการออกแบบพื้นที่ให้ลูกค้าต่างรายยังคงมีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้

            “คาดว่า โคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) จะเป็นที่นิยมของลูกค้าระดับองค์กรมากขึ้น ไม่เพียงเพราะเป็นรูปแบบที่นั่งทำงานซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดสังคมของการทำงานร่วมกันเท่านั้น แต่ยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยบริษัทที่ใช้ โคเวิร์คกิ้งสเปซเป็นสำนักงานหรือที่ทำงาน ไม่จำเป็นต้องลงทุนตกแต่งสำนักงานเอง และไม่ต้องผูกพันกับสัญญาเช่ายาว จึงสามารถย้ายออกได้ง่ายกว่าการเช่าสำนักงานแบบเดิม นอกจากนี้ รูปแบบการให้บริการแบบสมาชิก ยังเปิดโอกาสให้สามารถปรับเพิ่มหรือลดจำนวนที่นั่งได้ตามการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนพนักงานที่มีอยู่จริง”

ทั้งนี้ จากกระกระแสการเติบโตของที่ทำงานรูปแบบใหม่นี้ ทำให้เจ้าของอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ เริ่มสนใจแนวคิดการปรับพื้นที่บางส่วนในอาคารของตนให้เป็นโคเวิร์คกิ้งสเปซ ซึ่งต่างจากเมื่อ 3-4 ปีที่แล้วที่ไม่มีเจ้าของอาคารสำนักงานสนใจแนวคิดนี้เลย อย่างไรก็ดี การบริหารจัดการต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่ต่างจากการให้เช่าพื้นที่สำนักงานรูปแบบเดิม ทำให้ในเบื้องต้นนี้เจ้าของอาคารสนใจที่จะหาผู้ประกอบการโคเวิร์คกิ้งสเปซ(Coworking space) เข้ามาเป็นหุ้นส่วนมากกว่าที่จะเป็นผู้ดำเนินการเอง”

            นอกจากนี้ จากรายงานการวิจัยจาก JLL ระบุว่า สถานที่ทำงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งหมายรวมถึงเซอร์วิสออฟฟิศและโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space) กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หมาย ทำให้ธุรกิจนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยเฉพาะเอเชียแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวของเซอร์วิสออฟฟิศและโคเวิร์คกิ้งสเปซ(Coworking space) รวดเร็วที่สุดในโลก โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตที่ 35.7% เทียบกับอเมริกาและยุโรปที่มีการขยายตัว 25.7% และ 21.6% ตามลำดับ นอกจากนี้ JLL ยังคาดการณ์ด้วยว่า ภายในปี 2573 โคเวิร์คกิ้งสเปซ(Coworking space) จะมีสัดส่วนคิดเป็นประมาณ 30% ของพื้นที่สำนักงานทั่วโลก

 

เผยผลสำรวจทั่วโลกใช้พื้นที่ออฟฟิศน้อยลง

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล ส่งผลต่อวิธีการทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม และอาจจะส่งสัญญาณกำหนดเวลาทำงาน 9 โ

Regus Bang Na – Bangkok.

มงเช้าเลิก 5 โมงเย็น สอดรับกับ ผลสำรวจใหม่ล่าสุดของ International Workplace Group หรือ IWG ผู้นำให้บริการพื้นที่สำนักงานระดับโลกภายใต้แบรนด์ Regus (รีจัส) และ Spaces (สเปซเซส) รวมถึงพื้นที่ออฟฟิศในรูปแบบโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Coworking space)  กับ นักธุรกิจจำนวนกว่า 18,000 คน ใน 96 บริษัทพบว่าในทุกสัปดาห์ มีพนักงานจำนวนกว่า 70% ที่ต้องทำงานนอกสถานออฟฟิศ  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53) ทำงานจากนอกสถานที่เป็นน็นH็จำนวนครึ่งหนึ่งของสัปดาห์หรือมากกว่านั้น ในขณะที่คนจำนวน 1 ใน 10 (ร้อยละ 11) จะต้องทำงานจากที่อื่น นอกเหนือจากออฟฟิศหลักของตนมากถึง 5 ครั้งต่อสัปดาห์

โดยนายมาร์ค ดิกซัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ ผู้ก่อตั้ง IWG กล่าวว่า ผู้คนจากเมืองซีแอตเทิลถึงสิงคโปร์ หรือแม้แต่ลอนดอนจนถึงลาโกส ต่างไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่ในออฟฟิศอีกต่อไป ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่งที่เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการทำงานนอกสถานที่อย่างแท้จริง ซึ่งไม่เพียงแต่เหล่าพนักงานของบริษัทเอกชนเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงภาคธุรกิจด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของพื้นที่การทำงานในระดับโลก โดยกลุ่มธุรกิจต่างเริ่มพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ที่ส่งผลถึงอสังหาริมทรัพย์ของธุรกิจ

อย่างไรก็ดีผลการสำรวจโดย IWG ยังพบว่าธุรกิจเลือกใช้วิธีการทำงานที่ยืดหยุ่นเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการมอบสวัสดิการที่ดีเยี่ยมให้กับพนักงานเพื่อ โดยเกิดผลประโยชน์ เช่นการเติบโตทางธุรกิจ (ร้อยละ 89 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 67), ความสามารถในการแข่งขัน (ร้อยละ 87 เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 59), ประสิทธิภาพในการทำงาน (ร้อยละ 82 เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 75), การดึงดูดและรักษาพนักงาน (ร้อยละ 80 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 64) และสามารถเพิ่มผลกำไรสูงสุด (ร้อยละ 83)

ทั้งนี้คนทั่วโลกในยุคนี้ต่างเข้าใจว่าพื้นฐานของการทำงานจะประกอบไปด้วยสถานที่ทำงานที่มีหลักแหล่งแน่นอน และระยะเวลาการทำงานตั้งแต่ 09.00 น.–17.00 น. แต่กลุ่มธุรกิจต่างค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจและเหล่าพนักงาน

นอกจากนี้ผลสำรวจโดย IWG ยังชี้ให้เห็นว่า การทำงานที่ยืดหยุ่นไม่เพียงแต่ช่วยลดเวลาการทำงานเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน รักษาพนักงาน สร้างความพึงพอใจในอาชีพ มีความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น ทั้งยังส่งผลที่ดีต่อกลยุทธ์ด้านการเงินที่ให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าต่อธุรกิจโดยจำนวนกว่าร้อยละ 80 ของผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นสามารถช่วยรักษาพนักงานที่มีความสามารถได้ ในขณะที่ร้อยละ 64 มีแผนที่จะมอบการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อดึงดูดพนักงาน ทั้งนี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 58) ที่เห็นด้วยว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นนั้นช่วยปรับปรุงความพึงพอใจในอาชีพได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างแสดงให้เห็นว่าธุรกิจจำเป็นต้องมอบสิ่งแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมต่อพนักงานในยุคปัจจุบันเพื่อรักษากลุ่มพนักงานที่ดีเยี่ยมไว้ และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกว่าร้อยละ 91 ระบุว่า สถานที่การทำงานแบบยืดหยุ่นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้มากยิ่งขึ้นแม้ในขณะที่ต้องเดินทาง

 “การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล ได้นำไปสู่การใช้งานและการเติบโตของการบริการในรูปแบบ “on-demand” การทำงานที่ยืดหยุ่น ได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มคนทำงานในรูปแบบ “on-demand” ซึ่งจะอยู่ในระดับงานของผู้นำระดับอาวุโสที่ดูแลงานต่าง ๆ ในบริษัท อาทิ การจัดการความเสี่ยง การพัฒนาธุรกิจ ทรัพยากรบุคคล การตลาดและกลยุทธ์ คาดว่าในเร็ว ๆ นี้ การทำงานที่ยืดหยุ่นจะกลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ปกติ (ธรรมดา ๆ) คาด ว่าวันนั้นใกล้มาถึงแล้วอย่างแน่นอน”

IWG ผู้นำที่ให้บริการพื้นที่สำนักงานระดับโลก เช่น Regus (รีจัส) และ Spaces (สเปซเซส) ในประเทศไทย ซึ่งมอบพื้นที่สำนักงานที่เป็นมืออาชีพและหลากหลาย พร้อมการสร้างสรรค์แรงบันดาลใจ บรรยากาศแห่งการทำงานร่วมกัน คอมมิวนิตี้และการบริการที่ยอดเยี่ยม โดยปัจจุบัน Regus มีทั้งหมด 19 แห่งทั่วประเทศและมีแผนที่เปิดใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ไอคอน พาร์ค และ โครงการสิงห์ คอมเพล็กซ์ และที่อาคารภิรัชทาวเวอร์ แอท ไบเทค (ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค) ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไป ในขณะที่ Spaces เปิดตัวสาขาแรกอย่างประสบความสำเร็จ ณ ซัมเมอร์ฮิลล์ สถานีรถไฟฟ้าพระโขนง และยังคงมีแผนเดินหน้าเปิดสาขาที่สองและสาม ณ อาคารจัสตุรัสจามจุรี และ อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ สาทร

Leave A Reply

Your email address will not be published.