วันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ น. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม ๓๐๑ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร จากการประชุม ได้มีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ จำนวน ๑ เรื่อง (จ้างเหมาตกแต่งภายใน) และดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน ๙ เรื่อง(สมัครเข้าร่วม โครงการ Work and travel Summer 2022ซื้อคอร์สบริการเสริมความงาม ซื้อบัตร Gift Card พร้อมสมัครสมาชิก ซื้อคอร์สต่อยมวย ว่าจ้างพนักงานดูแลผู้ป่วย ทำสัญญาจองซื้อรถยนต์ สั่งซื้อผ้าม่านพร้อมติดตั้ง นำรถยนต์ เข้าซ่อมแต่ไม่เสร็จ ซื้อแพ็กเกจทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ)
รายละเอียด ดังนี้ ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์จำนวน ๑ เรื่อง ๑. กรณีผู้บริโภคได้ว่าจ้างเหมางานตกแต่งภายใน กับบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคา ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท โดยชำระเงินมัดจำ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และเงินค่างวดงาน จำนวน ๙๖๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินที่ชำระ ไปแล้วทั้งสิ้น จำนวน ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญาว่าจ้าง ต่อมาปรากฏว่าผู้รับจ้างทิ้งงานและปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า บริษัทพร้อมด้วยกรรมการบริษัทฯ ได้กระทำให้เกิดความเสียหายกับผู้บริโภคอีกจำนวนหลาย ราย เป็นการกระทำที่เจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ได้รับความเสียหายหรือประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบการ เพื่อบังคับให้คืนเงิน ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายและรับค่าเสียหายเชิงลงโทษด้วย ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการ รวมจำนวน ๙ เรื่อง ๑. กรณีผู้บริโภคจำนวนหนึ่งแจ้งว่า ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ Work and travel Summer 2022 ประเทศสหรัฐอเมริกากับบริษัทแห่งหนึ่ง และได้ชำระเงินให้แล้ว ปรากฏว่าบริษัทฯ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา คือ ไม่บันทึกรายชื่อของผู้บริโภคในกลุ่มที่ได้งานแล้ว มีการดำเนินการขอเอกสารหรือแก้ไขเอกสารล่าช้า ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้ทันตามกำหนดเวลาที่นายจ้างประเทศสหรัฐอเมริกาได้แจ้งไว้ และไม่ สามารถติดต่อบริษัทฯ ได้ จึงมีความประสงค์ยกเลิกสัญญาและขอคืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดคืน มติที่ ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบการ เพื่อบังคับให้คืนหรือชดใช้เงินให้แก่พวกผู้บริโภค จำนวน ๓๘ ราย พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทดังกล่าว รวมถึงผู้มีอำนาจลงนาม จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดตามที่เห็นสมควร ๒. กรณี… ๒ ๒. กรณีผู้บริโภคได้ซื้อคอร์สบริการเสริมความงามกับบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ ใช้บริการที่สาขายูเนี่ยนมอลล์ ในราคา ๑๙๓,๐๐๐ บาท ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๓ บริษัทฯ ได้ปิดกิจการ สาขาดังกล่าว และผู้บริโภคไม่มีความประสงค์ที่จะใช้บริการที่สาขาอื่น จึงขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงิน ในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้บริการ ต่อมาบริษัทฯ ได้ชี้แจงว่ามีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาเช่าพื้นที่ประกอบธุรกิจระหว่าง บริษัทฯ และผู้ให้เช่า ทำให้ไม่สามารถใช้พื้นที่เช่าดังกล่าวเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยผู้บริโภคได้ทำการ กรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ขอคืนเงินตามเงื่อนไขวิธีปฏิบัติ แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่ได้คืนเงิน ให้แต่อย่างใด จึงเห็นได้ว่าบริษัทฯ เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดสิทธิผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่ง แก่ผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ชดใช้ค่าเสียหาย จำนวน ๑๔๓,๙๒๑ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ๓. กรณีผู้บริโภคได้ซื้อบัตร Gift Card เพื่อสมัครสมาชิกและรับแก้วสมนาคุณ รวมถึง เติมเงินเพื่อเปิดใช้งานบัตร รวมเป็นเงินจำนวน ๓,๑๕๐ บาท จากร้านน้ำชงของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้บริโภคได้ใช้เงิน ในบัตรไปแล้วจำนวน ๒ ครั้ง คงเหลือเงินในบัตรจำนวน ๒,๘๗๐ บาท ต่อมาปรากฏว่าบัตรหมดอายุและบริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการคืนเงินในบัตรแต่อย่างใด จึงมีความประสงค์ให้บริษัทฯ คืนเงินในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้บริการ จากการพิจารณาเห็นว่า สัญญาดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขไว้หลังบัตร “บัตรนี้มีอายุการใช้งาน ๑ ปี นับจาก การเติมเงินครั้งล่าสุด” แต่ไม่ระบุว่า เมื่อบัตรดังกล่าวหมดอายุ บริษัทฯ จะมีสิทธิดำเนินการใด ๆ หรือริบเงินในบัตร อันเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้บริโภค จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่บริษัทฯ นำส่งพบข้อมูลว่า “Date : 03/4/2022 Trans type : Expire แต่ไม่ได้มีข้อตกลงหรือข้อสัญญาประการใดที่ระบุให้สิทธิแก่บริษัทฯ กรณี ที่บัตรดังกล่าวหมดอายุ บริษัทฯ จะมีสิทธิดำเนินการใด ๆ หรือริบเงินในบัตร เมื่อบริษัทฯ อ้างเหตุดังกล่าว เพื่อยืนยันว่าบัตรหมดอายุและริบเงินในบัตรจึงถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่ง แก่ผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้คืนเงินให้แก่ผู้บริโภค จำนวน ๒,๘๗๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ๔. กรณีผู้บริโภคได้ซื้อคอร์สต่อยมวยกับบริษัทแห่งหนึ่งในราคา ๓๖,๐๐๐ บาท ใช้บริการได้ ๗๗ ครั้ง แต่ผู้บริโภคใช้บริการไปแล้ว ๑๐ ครั้ง ต่อมาบริษัทฯ ปิดกิจการสาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ จึงมีความประสงค์ ขอคืนเงินในส่วนที่ยังไม่ได้ใช้บริการจำนวน ๓๑,๓๒๕ บาท การที่บริษัทฯ ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้จึงเป็นฝ่าย ผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินให้แก่ ผู้บริโภค จำนวน ๓๑,๓๒๕ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ๕. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาว่าจ้างพนักงานดูแลผู้ป่วยกับห้างหุ้นส่วนจำกัดแห่งหนึ่ง โดยชำระเงินเข้าบัญชีธนาคาร ๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่ามัดจำล่วงหน้า ๑๗,๐๐๐ บาท และค่าบริการ ๓,๐๐๐ บาท ซึ่งพนักงานคนแรกได้ปฏิบัติงานเพียงวันเดียวแล้วขอลาออก ห้างหุ้นส่วนฯ จึงจัดส่งพนักงาน คนที่ ๒ และอ้างว่ามีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ๕ ปี มาทำแทน แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ผู้บริโภค แจ้งให้จัดส่งพนักงานคนใหม่มาปฏิบัติงาน แต่ถูกเพิกเฉย จึงมีความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาฯ และขอเงินคืน และขอความเป็นธรรม อีกทั้งปรากฏว่ามีผู้บริโภครายอื่นได้ร้องเรียนห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าว ไว้ต่อ สคบ. ในลักษณะ… ๓ ในลักษณะเช่นเดียวกัน จึงเป็นพฤติการณ์ที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจ เป็นการ ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่หุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการ เพื่อบังคับให้คืน เงินจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายและเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทดังกล่าว รวมถึงผู้มีอำนาจลงนามจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาล กำหนดตามที่เห็นสมควร ๖. กรณีผู้บริโภคได้ทำสัญญาจองซื้อรถยนต์ ยี่ห้อ HONDA รุ่น HR-V กับบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคา ๑,๐๘๔,๐๐๐ บาท ชำระเงินมัดจำ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท โดยสัญญาจองระบุระยะเวลาที่คาดว่า จะส่งมอบรถยนต์ภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๕ บริษัทฯ แจ้งเลื่อนวัน ส่งมอบรถยนต์เป็นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ โดยไม่กำหนดวันส่งมอบที่ชัดเจน ผู้บริโภคจึงขอยกเลิกสัญญาจอง และขอเงินมัดจำคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ และการที่บริษัทฯ ไม่คืนเงินจองรถยนต์ให้จึงเป็นการละเมิดสิทธิ ผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ตามกฎหมาย ๗. กรณีผู้บริโภคได้สั่งซื้อผ้าม่านพร้อมติดตั้งกับร้านแห่งหนึ่ง จำนวน ๒ ชุด โดยชำระเงิน มัดจำด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีร้าน รวมทั้งสิ้น ๑๘,๗๐๐ บาท แต่ร้านไม่ดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน เวลาที่ตกลงกัน จึงมีความประสงค์ขอเงินมัดจำผ้าม่านคืน แต่ไม่สามารถติดต่อร้านได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการผิดสัญญาและละเมิดสิทธิผู้บริโภค มีเจตนาเอาเปรียบ ไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย โดยไม่นำพาต่อความเสียหาย มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่ร้านติดตั้งผ้าม่าน เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๑๘,๗๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทดังกล่าว รวมถึงผู้มี อำนาจลงนามจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดตามที่ เห็นสมควร ๘. กรณีผู้บริโภคได้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่ง ตกลงค่าซ่อม จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท ชำระราคาล่วงหน้า จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท กำหนดดำเนินการซ่อม ๑๐ วัน ต่อมารถยนต์ซ่อมไม่แล้วเสร็จ และไม่สามารถติดต่ออู่ซ่อมรถยนต์ได้ ผู้บริโภคจึงบอกเลิกสัญญาและนำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่แห่งอื่น จากการ พิจารณาแล้วเห็นว่า คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันได้ โดยอู่ซ่อมรถยนต์ ตกลงคืนเงินให้กับผู้บริโภค จำนวน ๙๑,๐๐๐ บาท ผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ทั้งหมด ๕ เดือน ต่อมาอู่ฯ ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นการกระทำผิดสัญญาอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่อู่ซ่อมรถยนต์เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๙๑,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ย ตามกฎหมาย ๙. กรณีผู้บริโภคได้ซื้อแพ็กเกจทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ กับบริษัทแห่งหนึ่ง จำนวน ๓ ครั้ง ในราคา ๙๙๙ บาท ซึ่งบริษัทฯ ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเพียง ครั้งที่ ๑ และไม่สามารถติดต่อได้ และผู้บริโภคได้รับข้อความผ่านแอปพลิเคชันไลน์แจ้งปฏิเสธการให้บริการ และแจ้งว่าจะโอนเงินคืนให้ภายใน ๑ เดือน นับจากวันที่ส่งเลขบัญชี แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่คืนเงินให้และ ไม่สามารถ… ๔ ไม่สามารถติดต่อได้ จึงขอความเป็นธรรม จากการกระทำของบริษัทฯ จึงเป็นการผิดสัญญาและละเมิดสิทธิ ของผู้บริโภคอันเป็นพฤติการณ์ที่มีเจตนาเอาเปรียบหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย มติที่ประชุม ดำเนินคดีแพ่งแก่บริษัทฯ เพื่อบังคับให้คืนเงินจำนวน ๖๖๖ บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย และเสนอ เรื่องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทดังกล่าว รวมถึงผู้มีอำนาจลงนามจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น จากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ได้มีการดำเนิน คดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมจำนวน ๑๐ ราย โดยบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจคืนเงิน ให้แก่ผู้บริโภค เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑,๓๗๘,๔๘๒ บาท (หนึ่งล้านสามแสนเจ็ดหมื่นแปดพันสี่ร้อยแปดสิบ สองบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย รวมถึงผู้มีอำนาจลงนามจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น จากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดตามที่เห็นสมควร และชดใช้เงินให้แก่ผู้บริโภค จำนวน ๓๘ ราย ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ Work and travel Summer 2022 ประเทศสหรัฐอเมริกา