“โรงแรมสุขภาพ” ข้อคำนึงการพัฒนาและงานบริการโรงแรม ปี 2564

ซีบีอาร์อี เชื่อ ผู้พัฒนาโรงแรม เน้นให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงการและงาน บริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าในประเทศเป็นเงื่อนไขสำคัญมากที่สุด ท่ามกลางมาตรการป้องกันไวรัส และยังไม่เปิดการท่องเที่ยวจากต่างชาติ

นายอรรถกวี ชูแสง หัวหน้าแผนกธุรกิจโรงแรม ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวถึง“เทรนด์การดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมีปัจจัยมาจากการระบาดของไวรัส โคโรน่า โดยมีหลายแง่มุมที่สำคัญ  เริ่มจาก ลูกค้าที่ใช้บริการสปาเริ่มมีช่วงอายุที่กว้างขึ้น และหลากหลายประเด็นของการเข้ามาใช้บริการ ทั้งผู้ที่ต้องการป้องกันอาการป่วยเรื้อรังหรือต้องการหายจากอาการป่วย รวมถึงวัยทำงานที่ต้องการรักษาสุขภาพด้วย   ประการต่อมาคือ การรีแบรนด์โรงแรมไปสู่การเป็นโรงแรมเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและการยกระดับแบรนด์ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ การจัดแพ็กเกจสปาในโปรแกรมส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในโรงแรมเชิงสุขภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นได้มีการพัฒนาและทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าผู้ชายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เฉพาะทางเพื่อเป็นแนวทางหลักในการตอบสนองความต้องการโรงแรมเพื่อสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ได้อีกแนวทาง   ซึ่งเห็นตัวอย่างจาก โรงแรมอนันตราในประเทศไทยที่ได้รับ 12 รางวัล ซึ่งรวมถึงรางวัลแบรนด์สปาโรงแรมที่ดีที่สุดของโลกในงานเวิลด์ สปา อวอร์ดส ครั้งล่าสุดในปี 2563”

ทั้งนี้จากการนำโปรแกรมและที่พักเพื่อสุขภาพมาพัฒนาเป็นสัญญานที่ดีสำหรับประเทศไทยซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ อย่างความอบอุ่น การบริการ และการดูแลสุขภาพถูกปลูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมไทยอยู่แล้ว อย่างการรักษาด้วยสมุนไพรและการนวดกดจุดแบบโบราณ    ผู้พัฒนาโรงแรมสามารถใช้ข้อได้เปรียบเหล่านี้ในการสร้างสินค้าและบริการที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละแบรนด์ในด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

“เทรนด์การดูแลสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ผู้พัฒนาและผู้บริหารเครือโรงแรมไทยให้ความสำคัญมากขึ้นกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโปรแกรมด้านสุขภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ในท้องถิ่น และการมอบสิทธิประโยชน์และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศ จนกว่าจะถึงช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา ซึ่งเป็นการจำแนกให้ประเทศไทยมีความชัดเจนมากขึ้นในฐานะที่เป็นจุดหมายปลายระดับนานาชาติสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอีกด้วย” นายอรรถกวี กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงการใหม่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังเป็นที่คาดว่าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากโรงแรมในกรุงเทพฯ อาจจะเน้นไปที่แพ็กเกจเพื่อสุขภาพแบบเร่งด่วนและโปรโมชั่นต่างๆ ที่จับกลุ่มลูกค้าที่ใช้ชีวิตในเมือง  ขณะที่โรงแรมในภาคเหนืออาจมุ่งให้ความสำคัญกับโปรแกรมเชิงสุขภาพที่มีระยะเวลายาวนานกว่าและมีการผสมผสานวัฒนธรรมล้านนาเข้าไปด้วย สำหรับในภาคใต้นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นกิจกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมเข้าไปมากกว่า

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรม ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการที่พักเชิงสุขภาพอย่างไร   แม้ว่าจุดประสงค์ของที่พักเชิงสุขภาพจะมุ่งเน้นไปที่การดูแลเชิงป้องกันและการฟื้นฟูสุขภาพ แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าผู้พัฒนาโครงการและเครือโรงแรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นการให้บริการด้านสุขภาพจะพยายามเจาะเข้าสู่ตลาดที่พักเชิงการแพทย์ ซึ่งสอดคล้องกับการระบาดของโควิด-19 ในภายหลังหรือไม่  การออกใบอนุญาตและการรับรองทางการแพทย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นจะก่อให้เกิดความท้าทาย  อย่างไรก็ตาม หากการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้งกลายเป็น “ความปกติแบบใหม่”  ผู้พัฒนาโครงการและเครือโรงแรมที่ตัดสินใจเข้าสู่ตลาดนี้อาจมีความได้เปรียบจากการเป็นกลุ่มแรกที่มีการปรับเปลี่ยน

Comments (0)
Add Comment