นวัตกรรมของ 4 วัยรุ่นเปลี่ยนโลก    

นวัตกรรมของ 4 วัยรุ่นเปลี่ยนโลก      

วัยรุ่นส่วนใหญ่จะใช้ชีวิต สนุกสนานกับสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ท่องเที่ยวหรือหมกมุ่นอยู่กับโลกโซเชียล แต่มีวัยรุ่นบางคนที่คิดค้นแก้ปัญหาให้กับโลกด้วยนวัตกรรมจนประสบความสำเร็จ สำนักข่าวบีบีซี ทำรายงานยกย่อง 4 วัยรุ่นชาย 2 หญิง 2 ที่สร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อายุยังน้อย

คนที่หนึ่งคือนาง Keiana Cavé อายุ 18 ปีจากเมืองนิวออร์ลีนส์ สหรัฐอเมริกา ในปีพ.ศ. 2553 ตอนนั้นเธออายุ 15 เห็นข่าวน้ำมันรั่วครั้งใหญ่ที่อ่าวเม็กซิโก สร้างหายนะแก่สิ่งแวดล้อมและชีวิตสัตว์ทะเลอย่างรุนแรง ข่าวชิ้นนั้นทำให้ สาวน้อยจากเมืองนิวออร์ลีนส์ เริ่มศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังเพื่อรู้ให้แน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้นกับคราบน้ำมันที่ลอยที่บนพื้นทะเล

หลังจากค้นคว้าอย่างหนักเธอพบว่าคราบน้ำมันที่ลอยอยู่บนผิวน้ำทะเลทำปฏิกิริยากับรังสียูวีของแสงอาทิตย์กลายเป็นสารก่อมะเร็ง การค้นคว้าของ Keiana Cavé ได้กลายเป็นเอกสารทางวิชาการ 2 ชิ้นและสิทธิบัตร 2 ใบ เป็นวิธีการตรวจหาสารก่อมะเร็งในคราบน้ำมัน

Keiana Cavé ตั้งสตาร์ตอัพชื่อ Mare ขึ้นเป็นกิจการรับตรวจจับสารก่อมะเร็งในคราบน้ำมัน และจัดการสลายคราบน้ำมันซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนหลายล้านดอลล์ไปเรียบร้อยแล้ว

วัยรุ่นคนที่ 2 คือนาย Rifath Shaarook จากอินเดีย อายุ 18 เช่นวัยรุ่นอินเดียคนนี้ตอนเด็ก ๆ ชอบใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูท้องฟ้าร่วมกับพ่อซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์และจากไปตั้งแต่ Rifath ยังเรียนอยู่ชั้นประถม

เด็กน้อยจากอินเดียโตขึ้นแต่ยังไม่ลืมท้องฟ้า ตอนที่เริ่มเป็นวัยรุ่นได้เข้าร่วมโครงการ Space Kidz India ตั้งทีมงาน 6 คนใช้เวลา 4 ปีสร้างดาวเทียมขนาดจิ๋วชื่อ KalamSat หนักแค่ 64 กรัม กว้าง 3.8 เซ็นติเมตรเล็กที่สุดโลกต้นทุนต่ำมีพลังงานในตัวเองและคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่สามารถใช้ทดสอบความประสิทธิภาพความคงทนของวัสดุเสริมพลาสติกในภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ

นาซ่า ยอมรับผลงานชิ้นนี้และยิงดาวเทียม KalamSat ที่ฐานยิงรัฐเวอร์จิเนียเพื่อการทดสอบกลางปีพ.ศ. 2560 ซึ่งเมื่อขึ้นสู่ห้วงอวกาศแล้วดาวเทียมจิ๋วจะใช้เวลา 12 นาทีรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบก่อนจะตกสู่พื้นทะเล

คนที่ 3 คือนาง Hannah Herbst อายุ 17 ปีจากรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อายุ 17 ปีตอนที่เธออายุ 15 ปีได้รับแรงกระตุ้นจากเพื่อนทางจดหมายอายุ 9 ขวบที่อยู่ประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งบ่นว่าไม่มีแสงไฟฟ้าใช้ ซึ่งปรากฏว่าเรื่องความจริงเป็นเรื่องใหญ่เพราะทุกวันนี้ยังมีประชากรกว่า 1,300 ล้านคนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้

Hannah คิดแก้ปัญหาให้เพื่อนชาวเอธิโอเปียของเธอด้วยโครงการ Beacon ซึ่งเป็นการนำไฟฟ้าไปสู่ประเทศต่าง ๆ โดยใช้พลังงานจากคลื่นของน้ำ สิ่งประดิษฐ์ของเธอทำด้วยพลาสติกติดตั้งใบพัดฝั่งหนึ่งและเครื่องปั่นไฟอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อนำไปวางไว้ที่ที่มีน้ำไหล สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนที่อยู่ใกล้ทะเลหรือธารน้ำไหล

สิ่งประดิษฐ์ของ Hannah ได้รางวัล Discovery Education 3M Young Scientist Challenge ในปีพ.ศ. 2558 ขณะนี้ เธอเรียนวิชาวิศวคอมพิวเตอร์และมัธยมไปพร้อมกันและกำลังมีคนนำสิ่งประดิษฐ์ของเธอไปใช้ช่วยประชากรในโลกกำลังพัฒนา

วัยรุ่นคนที่ 4 คือนาย Julian Rios Cantu อายุ18 ปีจากเม็กซิโก เริ่มเป็นประดิษฐ์ตั้งแต่อายุ 13 ขวบเมื่อเห็นแม่ต้องทนทรมานกับโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งจบลงโดยการผ่าตัดเต้านม ทั้งสองข้าง

Cantu ร่วมกับเพื่อนอีก 3 คนใช้เวลาไม่กี่ปีต่อมาประดิษฐ์ยกทรงที่สามารถตรวจเช็คมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ใส่เข้าไปในยกทรงที่ใช้ตามปรกติโดยให้ผู้หญิงใส่เพียงหนึ่งชั่วโมงต่ออาทิตย์เท่านั้น เซ็นเซอร์ในยกทรงจะวัดอุณหภูมิของผิวหนังและความยืดหยุ่นของเนื้องเต้านมและส่งข้อมูลผ่านแอพโทรศัพท์มือถือไปที่ศูนย์วิเคราะห์ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมโดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์

สิ่งประดิษฐ์ของ Cantu ได้รางวัล Global Student Entrepreneur Awards และเงินทุนประมาณ 700,000 บาททำให้วัยรุ่นจากเม็กซิโกคนนี้ร่วมกับเพื่อนตั้งบริษัท Higia Technologies ผลิตยกทรงที่มีชื่อว่า EVA bra ใช้ตรวจภาวะการเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นซึ่ง ถ้าสินค้าตัวนี้มีประสิทธิภาพดี บีบีซี ระบุว่าจะช่วยชีวิตผู้หญิงได้เป็นล้านคนทั่วโลก เพราะการเจอโรคในระยะเริ่มต้นจะช่วยให้รักษาได้

ภาพโฆษณา EVA bra จากเว็บไซต์ DailyGizmo

ภาพนาย Julian Rios Cantu (ขวา) และทีมงาน จาก เว็บไซต์ Popular Mechanics

ภาพนาง Hannah Herbst จาก New Times Broward-Palm Beach

ภาพนาย Rifath Shaarook ถือดาวเทียม KalamSat จากเว็บไซต์นิตยสาร composites manufacturing magazine

ภาพนาง Keiana Cavé พร้อมป้ายผลงานที่ได้รางวัล จาก เว็บไซต์ The coli.com

นวัตกรรมวัยรุ่นวัยรุ่นเปลี่ยนโลกวิชัย สุวรรณบรรณสำนักข่าวบีบีซีหมุนไปกับโลกโซเชียลมีเดีย
Comments (0)
Add Comment