ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยพบว่า ไตรมาส 4 ปี 2563CurrentSituation Index ผู้ประกอบการฯมีภาวะความเชื่อมั่นดีขึ้น ค่าดัชนีเท่ากับร้อยละ 46.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า (ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 42.8) แต่ยังคงต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับต่ำกว่าร้อยละ 50 ติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้มาตรการ LTVได้สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการฯยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ผู้ประกอบการฯที่ดำเนิน การสำรวจในช่วงปลายปี 2563 ซึ่งยังไม่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบสอง มีค่าเท่ากับร้อยละ 54.4 ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ (ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ร้อยละ 52.9) สูงกว่าค่ากลางที่ ร้อยละ 50.0 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบขณะนั้นเริ่มมีความหวังต่อการฟื้นตัวของตลาด ที่อยู่อาศัยในปี 2564 เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบสองนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบ การฯใน 6 เดือนแรกของปี 2564 ปรับตัวลดลงกว่าผลที่สำรวจข้างต้นได้
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริม ทรัพย์กล่าวว่า ในไตรมาส 4 ปี2563 ผู้ประกอบการยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย แม้ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯภาพรวมได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน
จากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆของภาครัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companies มีค่าดัชนีเท่ากับร้อยละ 49.2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมีค่าดัชนีอยู่ที่ 43.1 ขณะที่ผู้ประกอบการฯกลุ่มNon-listed Companies กลับมีค่าชะนีเท่ากับ 42.1 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 42.4 ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companiesจะมีระดับความเชื่อมั่นที่สูงกว่าร้อยละ 50 ในด้าน ยอดขาย การจ้างงาน และการเปิดตัวโครงการใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการฯกลุ่ม Non-listedCompanies ไม่มีความเชื่อมั่นด้านใดเลยที่เกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า กลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companiesจะเป็นผู้บทบาทหลักในการลงทุนและการขยายตัวของตลาดที่อยู่อาศัยใน พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล (ดูตารางที่ 1 และแผนภูมิที่ 1)
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) มีค่าเท่ากับ 54.4 ที่เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนหน้า แสดงเห็นว่าในภาพรวมผู้ประกอบการมีมุมมองเชิงบวกสำหรับธุรกิจพัฒนาที่อยุ่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าวัคซีนป้องกัน COVID-19 จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางและสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และเศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากขึ้น แต่จะเห็นได้ชัดว่า มุมมองเชิงบวกเช่นนี้ เป็นผลมาจากกลุ่มผู้ประกอบการฯ ListedCompanies ที่มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับร้อยละ 59.7 เพิ่ม ขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.0 แต่สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการฯ Non-listed Companiesมีค่าดัชนีเพียงร้อยละ 46.5 แม้จะเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ระดับ 45.2 แต่ได้แสดงให้เห็นได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการ Non-listed Companiesยังคงขาดความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2564
ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการฯ Listed Companiesมีความเชื่อมั่นมากขึ้นชัดเจนในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านยอดขาย การลงทุน และการเปิดตัวโครงการใหม่ (ดูตารางที่ 2 และแผนภูมิที่ 2) แต่ขอให้ขีดเส้นใต้ไว้หลายๆ เส้นว่า “การสำรวจความเชื่อมั่นฯนี้ ดำเนินการในช่วงปลายปี 2563 ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่”ดังนั้นจึงคาดได้ว่า ในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ปี 2563 นี้ ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการคงจะปรับลดลงจากการสำรวจช่วงปลายปีอย่างแน่นอน โดยเห็นว่า ผู้ประกอบการยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับการเปิดขายโครงการใหม่ เพื่อลดจำนวนอุปทานเหลือขายที่ยังมีอยู่มากในตลาดและรอดูผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตามภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากช่วงการสำรวจ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเมินว่า การเปิดตัวปี 2564 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีจำนวนประมาณ 89,000 หน่วย แบ่งเป็นแนวสูง 36,000-37,000 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 30-40% และแนวราบ 52,000 หน่วย แต่ถ้าโควิดยืดเยื้ออาจจะลดลงอีก 10,000 หน่วย เหลือ 79,000 หน่วย เท่ากับปีนี้จะอยู่ระหว่าง 79,000 -89,000 หน่วย สูงกว่าปี 2563 ที่เปิดรวม 71,500 หน่วย แม้ว่าปีนี้เศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัว แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องเปิดตัวโครงการใหม่ เพราะสต็อกพร่องลงจากปีก่อน โดยมีการคาดการณ์ผ่านการจำลองหลายสถานการณ์ (Scenario)เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงภาพรวมแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับดีที่สุด (best)คือ ตลาดจะโต 5-10% ระดับกลาง (base)ตลาดทรงตัวบวกลบไม่เกิน 0.5 % และระดับแย่ที่สุด (worst) ติดลบ 10% เท่ากับปี 2563 เท่ากับภาพรวมตลาดทั่วประเทศลดลงถึง 20% ซึ่งรุนแรงพอควร เพราะต่ำสุดในรอบ 5 ปี ใกล้เคียงกับช่วงเกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554
“มีความเป็นไปได้ว่าปี 2564 จะติดลบถึง10 % ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะปีนี้กำลังซื้อที่อั้นอยู่อาจมีไม่มากเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบในแง่ของรายได้ต่อเนื่องมานาน ส่งผลให้ดีมานด์ใหม่ของที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบรุนแรง”