“กรมเจ้าท่า” เดินหน้าแผนปรับปรุงกฎหมายการขนส่งทางน้ำ ปี 2566 มุ่งเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีของไทยให้สอดรับกับมาตรฐานสากล สร้างความเชื่อมั่นด้านการขนส่งทางน้ำ รองรับการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ ดันร่างกฎหมาย สร้างความปลอดภัยในการจราจรและการขนส่งทางน้ำ เพื่อการดูแลด้านความมั่นคง
ของประเทศ
กรมเจ้าท่า โดยสำนักกฎหมาย ได้กำหนดแผนพัฒนากฎหมาย การขนส่งและพาณิชยนาวี ประจำปี 2566 ตามภารกิจ และบทบาทการกำกับดูแลเชิงรุก ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นับเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพการขนส่งกองเรือไทย และการบริหารจัดการท่าเรือให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด และมาตรฐานการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกการบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักกฎหมาย ได้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดรับกับแผนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ของกรมเจ้าท่าในปี 2566 ตามภารกิจหลัก คือการดูแล รักษาร่องน้ำทางเรือเดิน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ตลอดจนการควบคุมตรวจตรา ดูแลการคมนาคมและขนส่งทางน้ำทั่วทั้งประเทศ โดยกรมเจ้าท่าได้กำหนดแนวทางการพัฒนากฎหมายด้านการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และคำนึงถึงการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นยกระดับความความปลอดภัยในการจราจรและการขนส่งทางน้ำสร้างความมั่นคงของประเทศ
ภายใต้ขอบเขตการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางน้ำ และพาณิชยนาวี มีพระราชบัญญัติที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อย อาทิ พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2566 เพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา MARPOL Annex V (ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566) และที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 6 ฉบับ
1. ร่างพระราชบัญญัติการทุ่มทิ้งของเสียหรือวัสดุอื่นในทะเล พ.ศ. … เพื่อรองรับ London Protocol (ปัจจุบันได้ผ่านการตรวจจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว มีการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 67 รอเข้าสู่กระบวนการทางนิติบัญญัติต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันไม่มีกฎหมายใดของกรมเจ้าท่าที่ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของสภา)
2. ร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ …) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าเรือและมาตรฐานท่าเรือในการสร้างกลไกการดูแลท่าเรือทั้งระบบ ตั้งแต่การเห็นชอบการสร้าง การอนุญาต และมาตรฐานการสร้าง และ การดูแลภายหลังการสร้าง (ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างส่งกลับมาให้ยืนยัน)
3. ร่างประราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ …) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาช่วยเหลือ (Search and Rescue) (ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างส่งมาให้กรมเจ้าท่ายืนยัน)
4. ร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ …) พ.ศ. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสอนสวนอุบัติเหตุทางน้ำ
5. ร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ …) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อำนาจของกรมเจ้าท่าในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ EEZ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยังขาดอยู่
6. ร่างพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ …) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทลงโทษและมาตรการทางปกครอง
รวมถึงพระราชกำหนด จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเรือไทย จำนวน 2 ฉบับ เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ประกอบกับออกกฎหมายการรองรับการบริหารกองเรือไทย (คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแล้ว
เมื่อ พ.ศ. 2560)
ในส่วนของกฎหมายทั่วไป มีกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงคมนาคม ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาทิ กฎกระทรวงค่าตอบแทนรายปีสำหรับผู้รับอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำลำน้ำ พ.ศ. 2563, กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจอดเรืออยู่เป็นการประจำในน่านน้ำหรือทำเลทอดสมอจอดเรือ พ.ศ. 2562, ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกาศกำหนดสถาบันการตรวจเรือสำหรับเรือลำเลียง, ข้อบังคับกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับมาตรฐานที่พักอาศัยบนเรือประมง พ.ศ. ๒๕๖๓, ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการอนุญาตให้เรือจอด ทอดสมออยู่เป็นการประจำในน่านน้ำ ลำแม่น้ำ หรือทำเลทอดจอดเรือตำบลใด ๆ พ.ศ. ๒๕๖๒, ประกาศกรมเจ้าท่าที่ ๙๑/๒๕๖๓ เรื่อง กำหนดสถานที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในท่าเรือโดยสารสาธารณะหรือบนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง, คำสั่งกรมเจ้าท่า ที่ ๖๒๐/๒๕๖๓ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจ เจ้าท่า ตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้กับข้าราชการและพนักงานราชการในกลุ่มตรวจการเดินเรือ สังกัดสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
นอกจากนี้ยังมีกฎหมาย กฎกระทรวงและข้อบังคับของกรมเจ้าท่า ที่เกี่ยวกับด้านความตกลงระหว่างประเทศ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ แบ่งเป็น กฎกระทรวงเครื่องหมายถาวรของเรือไทย พ.ศ. 2565, ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกาศกำหนดสถาบันการตรวจเรือ ในการตรวจเรือเพื่อการออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือจากกรมเจ้าท่า รวมถึงข้อบังคับกรมเจ้าท่า จำนวน 15 ฉบับ อาทิ การออกใบสำคัญรับรองระหว่างประเทศว่าด้วยความเหมาะสมสำหรับการขนส่งแก๊สเหลวในระวางเป็นปริมาตรรวม (IGC Code) , การออกใบรับรองว่าด้วยข้อบังคับที่เกี่ยวข้องการสอบความรู้ ในการเดินเรือทะเลใกล้ฝั่งและระหว่างประเทศ, การเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจเรือและออกใบสำคัญรับรับรองเรือบรรทุกสารเคมี เรือบรรทุกของแข็ง ใบรับรองแนวน้ำบรรทุก ใบรับรองตามข้อบังคับการจัดการความปลอดภัยระหว่างประเทศ (ISM Code) การออกใบรับรองรับรองระหว่างการป้องกันมลพิษจากสารเหลวมีพิษในระวางเป็นปริมาตรรวม , ค่าธรรมเนียมการตรวจและการออกใบสำคัญรับรอง สำหรับเรือพลังงานนิวเคลียร์, ค่าธรรมเนียมการออกใบสำคัญรับรองสำหรับระบบจำแนก และติดตามเรือระยะไกล , การออกใบสำคัญรับรองการรักษาความปลอดภัยของเรือระหว่างประเทศ และการบันทึกประวัติเรือต่อเนื่อง, การตรวจเรือตามโปรแกรมเสริมระหว่างที่ทำการตรวจเรือประเภทการใช้บรรทุกสินค้าเทกอง และเรือบรรทุกน้ำมัน และข้อบังคับ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และค่าธรรมเนียมการตรวจและการออกใบสำคัญรับรองสำหรับเรือที่บรรทุกสินค้าอันตราย และระเบียบกรมเจ้าท่า 6 ฉบับ อาทิ ระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการตรวจควบคุมเรือไทย (Flag State Supplementary Survey) ประเภทเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศและเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่ง พ.ศ. 2564 , การตรวจควบคุมเรือในฐานะรัฐเจ้าของเมืองท่า (Port State Control Inspection) พ.ศ. 2564, การรับรองสถานศึกษาฝึกอบรมและหลักสูตรการศึกษา และหลักสูตรการฝึกอบรม
พ.ศ. ๒๕๖๕ , การขอรับใบสำคัญรับรองการตรวจอนุมัติแบบแปลนเรือที่มีขนาดความยาวตลอดลำตั้งแต่ 24 เมตรขึ้นไป พ.ศ. 2565, การพิจารณาเรือให้บริการรับของเสีย พ.ศ. 2565 และ การตรวจควบคุมเรือในฐานะรัฐเจ้าของเมืองท่า (Port State Control Inspection) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เป็นต้น