เคล็ดลับเลือกวัสดุออกแบบบ้านให้เย็นสบาย

           เมษาหน้าร้อนทีไร อากาศร้อนก็พา หงุดหงิด ไม่อยากอยู่บ้าน เพราะระดับความร้อนเพิ่มขึ้นทุกปีๆ จะออกไปข้างนอกก็เจอแดดเผา จะอยู่ในบ้านก็อบอ้าวเหลือทน เนื่องจากความร้อนจากภายนอกได้เข้ามาสะสมภายในบ้านผ่านหลายช่องทาง ส่วนที่มีผลต่ออุณภูมิภายในบ้านหลักๆ เลยได้แก่หลังคาและผนัง หากต้องการอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องพึ่งแอร์ หรือช่วยให้แอร์ทำงานน้อยที่สุดเพื่อเป็นการประหยัดไฟ ก็จำเป็นต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันความร้อนที่เหมาะสม หยิบยกเทคนิคเพื่อการเลือกผลิตภัณฑ์ช่วยลดความร้อนภายในบ้านมานำเสนอ

เทคนิคการเลือกวัสดุ

  • หลังคาบ้าน: 70% ของความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านมาจากหลังคา เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับแสงแดดโดยตรง และส่งความร้อนผ่านลงมาที่ตัวบ้าน ควรเลือกฝ้าเพดานใต้หลังคาที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ในตัว มีแผ่นสะท้อนความร้อน การเลือกรูปทรงหลังคายิ่งมีพื้นที่กักเก็บความร้อนด้านบนค่อนข้างมากจะช่วยลดอุณหภูมิของบ้านได้เพราะโดยธรรมชาติอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน
  • ฉนวนกันความร้อน: ด่านแรกในการป้องกันความร้อนจากหลังคาไม่ให้เข้าสู่บ้าน สามารถใช้ฉนวนกันความร้อนติดตั้งเข้าไปอีกชั้นเพื่อลดความร้อนภายในบ้านได้ดียิ่งขึ้น แผ่นฉนวนกันความร้อนสามารถติดตั้งร่วมกับหลังคา ฝ้าเพดาน หรือผนัง เพื่อป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านได้อีกทางหนึ่ง
  • ฝ้าชายคา: ควรเลือกฝ้าที่มีรูหรือช่องระบายอากาศผ่านเข้าออกได้ เพื่อรับลมเย็นและระบายความร้อนที่สะสมใต้โถงหลังคา
  • พื้นบ้าน: ควรเลือกใช้กระเบื้องหรือหินอ่อนปูชั้นล่าง เพราะกักเก็บความเย็นจากพื้นดินได้เป็นอย่างดี
  • ผนังภายใน: เป็นอีกหนึ่งส่วนของบ้านที่ถูกส่งผ่านความร้อนมาจากแสงแดดตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดการสะสมความร้อนสูง ควรเลือกใช้วัสดุที่มีค่าการสะสมความร้อนต่ำ เช่น อิฐมวลเบา หรือเลือกใช้แผ่นยิปซัมที่มีความหนาอย่างน้อย 12 มม. และเพิ่มฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมเพื่อลดความร้อน ส่วนผนังภายนอกควรเลือกใช้สีขาว สีครีม สีพาสเทล ที่ช่วยสะท้อนความร้อน

     

        สภาพอากาศและอุณหภูมิในประเทศเขตร้อนอย่างเรามีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน การเลือกใช้วัสดุเพื่อออกแบบและตกแต่งบ้านเพื่อการอยู่อาศัยเพื่อช่วยลดอุณภูมิจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะส่งผลเรื่องอารมณ์และสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัย ยังช่วยในเรื่องค่าไฟฟ้าอีกด้วย

 

 ขอบคุณข้อมุลดีดี จาก ยิปซัม ตราช้าง  www.siamgypsum.com

Comments (0)
Add Comment