“LPP ” เครือ LPN ออกมาตรการสร้างความเชื่อมั่นลูกบ้าน

ผู้นำด้านบริหารนิติบุคตล “LPP ” เครือ LPN ออกมาตรการสร้างความเชื่อมั่นลูกบ้าน ตั้งทีมฉุกเฉินสกัดแพร่ระบาด COVID-19 กว่า 180 ชุมชน

LPP คงเดินหน้า 8 มาตรการฉุกเฉินดูแลนิติบุคคลอาคารชุดกว่า 180 ชุมชน ตามแผนปฏิบัติการดูแล ”เจ้าของร่วม-ผู้อยู่อาศัย” ในโครงการให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัส COVID-19  ตั้งทีมฉุกเฉินเข้าพื้นที่กรณีพบผู้ป่วยในโครงการและควบคุมจัดการพื้นที่เสี่ยง ตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด  ล่าสุดเตรียมขอบริจาคพลาสม่าช่วยผู้ป่วย COVID-19

นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN

นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพีนี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) บริษัทบริหารจัดการชุมชนในเครือ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า “ในฐานะผู้นำบริหารจัดการชุมชนภายใต้แนวคิด “ชุมชนน่าอยู่” ทาง LPP จึงได้วางแผนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มาตั้งแต่ระยะเริ่มเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวในประเทศไทย  ซึ่งได้ดำเนินหน้ามาตรการที่วางไว้ทั้ง 8 มาตรการอย่างเข้มข้น”

“ทั้งนี้ LPP มีชุมชนภายใต้การบริหารอยู่ถึง 180 ชุมชน ชุมชนที่พัฒนาโดย LPN และนิติบุคคลอื่น ครอบคลุมห้องชุดกว่า 150,000 ห้อง มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 200,000 คน  ผู้อยู่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานที่ต้องออกนอกบ้านจึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

ดังนั้น LPP ได้ตั้งทีมฉุกเฉิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นทีมม้าเร็ว กรณีพบผู้ป่วยติดเชื้อในโครงการที่ LPP บริหารอยู่  ซึ่งทีมฉุกเฉินนี้ ต้องเป็นทีมที่พร้อมปฏิบัติการทันทีที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และต้องดำเนินการควบคุมจัดการพื้นที่เสี่ยงในโครงการ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในพื้นที่ดังกล่าว    เข้มงวดในการตรวจตราผู้ที่เข้ามาในอาคารทุกคน ทุกวัน และกำหนดแนวปฏิบัติของแต่ละชุมชนตามข้อเท็จจริงที่ทีมฉุกเฉินตรวจแจ้ง  ตรวจสอบเส้นทางที่ผู้ติดเชื้อเคลื่อนที่ในชุมชนอย่างน้อย 7 วัน ด้วยการตรวจสอบ ผ่าน CCTV  ประเมินความเสี่ยงและทำการสื่อสารให้เจ้าของร่วมรับทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในโครงการ

นางสาวสมศรี ระบุด้วยว่า แผนดังกล่าวนี้ จะมีการปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสถาน การณ์ที่เปลี่ยนไป รวมถึงการที่หน่วยต่างๆ จะมีประกาศ หรือมีคำสั่งออกมา   โดยในระหว่างวิกฤติการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ LPP ได้ทำแผนจัดสรรอัตรากำลังและลักษณะงานออกเป็น 2 ทีม แต่ละทีมจะแยกพื้นที่ทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงให้ทีมงานและชุมชน หากเกิดการแพร่ระบาดจนต้องปิดสำนักงานนิติฯ หรือต้องกักบริเวณทีมงานใดทีมงานหนึ่ง  LPP ยังมีทีมงานอีกทีมที่แยกพื้นที่ทำงานเข้าทดแทนกันได้ทันที  ดังนั้น เจ้าของร่วมและผู้อยู่อาศัยจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ  เพียงแต่ในช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  การบริการบางอย่างอาจถูกจำกัดเพื่อความปลอดภัยทั้งกับทีมงานและผู้อยู่อาศัย

นอกจากนี้ LPP ยังจัดรูปแบบการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับกรรมการในชุมชนและผู้อยู่อาศัย  พร้อมแจ้งข้อมูลจริงหากมีผู้ติดเชื้อในโครงการ เพื่อให้เจ้าของร่วมและผู้อยู่อาศัยได้ทราบและระมัดระวัง   รวมถึงแจ้งข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์การติดเชื้อ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย โดยเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การดูแลผู้อยู่อาศัยในชุมชนของเราให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ ภายใต้นโยบาย “ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน” เพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยความปลอดภัยด้วยกัน”

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ล่าสุด ถือว่าเป็นข่าวดีที่แพทย์ยืนยันว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนภายใต้การดูเแลของ LPP จำนวน 10 ท่านหายดีแล้ว  สามารถกลับมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปลอดภัย   อีกทั้ง ในทุกชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19  นั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม  ซึ่งเป็นผลมาจาก 8 มาตรการที่ได้วางไว้นั่นเอง”

ขณะเดียวกันสภากาชาดประกาศว่าผู้ที่หายป่วยจากการติดเชื้อ COVID-19 นั้น  จะมีพลาสมาที่มีภูมิต้านทาน  ดังนั้น LPP จะประสานงานเชิญชวนผู้อยู่อาศัยในโครงการที่หายจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเพื่อเข้าร่วมบริจาค  รวมถึงช่วยคัดกรองคุณสมบัติตามที่สภากาชาดกำหนด  ในภาวะวิกฤติครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันและปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่วางไว้   เพื่อให้สถาน การณ์ แพร่ระบาดนี้หมดจากประเทศไทยโดยเร็ว”

สำหรับมาตรการในการดูแลชุมชนของ LPP ทั้งหมด 8 มาตรการหลัก  ประกอบด้วย
1. การคัดกรองผู้ที่เข้ามาติดต่อนิติบุคคลอาคารชุด หรือผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานในอาคาร ด้วยเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีประจำในแต่ละนิติบุคคล เพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงซึ่งเป็นด่านแรกที่จะแพร่เชื้อโรคเข้าสู่ชุมชน

2. ในส่วนของอาคารสำนักงาน เช่น ลุมพินี ทาวเวอร์ ที่มีผู้เข้ามาติดต่อเข้า-ออกอาคารจำนวนมากกว่า 7,000 คนในแต่ละวัน  ทาง LPP จึงได้จัดทำเส้นทางแยกผู้เข้า-ออกอาคาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรอง สร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีใครหลุดรอดจากการคัดกรองอย่างแน่นอน

3. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการรักษาความสะอาด เช่น น้ำยาล้างมือภายในห้องน้ำส่วนกลางทุกห้อง และ แอลกอฮอลล์แบบเจล บริเวณทางเข้า-ออก Lobby รวมถึงหน้าลิฟต์ และห้องสันทนาการต่างๆ ในอาคาร

4. เข้มงวดด้านการรักษาความสะอาด โดยเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ ในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน เช่น มือจับประตู ปุ่มกดลิฟต์  โดยทำความสะอาดทุก 30 นาทีถึง1 ชั่วโมง และลดจำนวนผู้ใช้ลิฟท์ในแต่ละรอบเพื่อป้องกันความแออัดด้วยการตีตารางและกำหนดจุดยืนของผู้ใช้ลิฟท์ให้มีระยะห่างเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโค COVID-19

5. การฉีดพ่นทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และการเช็ดทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ส่วนในระดับ  Deep Cleaning โดยเฉพาะในจุด in door ที่มีการใช้พื้นที่ร่วมกัน เช่น Lobby  และ ลิฟต์ชั้น G   หรือแม้แต่บริเวณพื้นที่เปิดโล่ง เช่น Sky Lounge   รวมถึงภายในสำนักงานนิติบุคคลฯ ที่เจ้าของร่วมจะเข้ามาติดต่ออย่างสม่ำเสมอ  โดยปิดให้บริการในบางพื้นที่ อาทิ  ห้องอเนกประสงค์  ห้องเด็ก ห้องออกกำลังกาย   สระว่ายน้ำ

6. กำหนดให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน    หากพบมีอาการป่วย ไอ เป็นไข้ ให้หยุดปฏิบัติงานทันที โดยสังเกตอาการตนเอง พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาจนกว่าจะหาย หรือกรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศจะให้หยุดงานเพื่อเฝ้าระวัง 14 วัน

7. เจ้าของร่วมและผู้พักอาศัยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เมื่อกลับเข้าพักอาศัยในอาคารชุด ขอความร่วมมือกักตัวเอง 14 วัน และแจ้งฝ่ายจัดการทันที และเฝ้าระวังโดยสังเกตว่ามีอาการไอ จาม มีไข้หรือไม่ โดยตลอด 14 วันทีมงานจะอำนวยความสะดวกเรื่องอาหารและสิ่งจำเป็น รวมถึงต้องใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกมาบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง และพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ (โดยติดต่อฝ่ายจัดการหรือกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422)

8. ฝ่ายจัดการ LPP ยังได้เพิ่มมาตรการคัดกรองผู้เช่าพักอาศัย และผู้เข้า-ออกอาคารที่เป็นชาวต่างชาติ จะต้องแสดงเอกสารหรือหนังสือรับรองจากแพทย์หรือสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ ว่ามีสุขภาพที่ปกติ ไม่เจ็บป่วย จึงจะเข้าพักอาศัยได้ และต้องยินยอมให้ตรวจวัดอุณหภูมิ หากสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส จะไม่อนุญาตให้เข้าพักในอาคาร สร้างความเข้าใจกับเจ้าของร่วม นักลงทุน ให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบผู้ที่จะให้เช่าเพื่อร่วมกับฝ่ายนิติบุคคลในการลดความเสี่ยง

Comments (0)
Add Comment